270 week ago — ใช้เวลาอ่าน 13 นาที
ประเทศไทยได้เข้าสู่การตลาด 4.0 ในช่วงพ.ศ.2560 (ตามประกาศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) จากยุทธศาสตร์การพัฒนา
อุตสาหกรรมไทย 4.0) มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกพัฒนาจากการทำการตลาดในอดีต เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่
เปลี่ยนแปลงไป และยังคงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องในอนาคต เพราะฉะนั้นเราคงรู้กันดีอยู่แล้วว่ามันจะต้องมี
การตลาดยุค 5.0 เกิดขึ้นแน่นอน
แต่ก่อนจะพูดถึงการตลาด 5.0 เรามาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุค 4.0 กันก่อน เนื่องจากยุค 4.0 มีการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น ธุรกิจ SMEs ที่มีการปรับตัวมาเป็นธุรกิจแบบ
Enterprize มากขึ้น, ธุรกิจออฟไลน์จำเป็นต้องปรับตัวโดยการเปิดหน้าร้านทางออนไลน์ เป็นต้น
เมื่อเวลาเดินไปข้างหน้าฉันใด โลกก็ต้องเกิดการพัฒนาให้ดีขึ้นฉันนั้น ไม่ว่าจะด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นหรือนวัตกรรมที่
เข้ามาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคล้วนทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึ่งพอใจสูงสุด ซึ่งถ้าเราสังเกตการตลาดยุค 4.0 ความ
หลากหลายของสินค้าหรือมองที่ประโยชน์ใช้สอยของสินค้าเป็นหลักไม่เพียงพออีกต่อไป ผู้บริโภคมีความต้องการที่ซับซ้อนมาก
ขึ้น ผู้ผลิตจึงจำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์การขายโดยยึดความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลักหรือที่เรามักจะได้ยินกันว่า “ลูกค้าเป็น
ศูนย์กลาง (Customer Centric)” ทำไมถึงจำเป็นต้องเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ? มาดูกัน
โลกการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ยิ่งมีการแข่งขันกันมากเท่าไหร่ ผู้บริโภคก็ยิ่งมีตัวเลือกมากเท่านั้น ไม่น่าแปลกใจเลยว่า
ทำไมผู้บริโภคถึงเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา ไม่ยึดติดกับแบรนด์ และพร้อมที่จะเปรียบเทียบสินค้าได้ตลอดเวลา เนื่องจากความ
ต้องการของผู้บริโภคนั้นไม่มีที่สิ้นสุดและสิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ ผู้บริโภคต้องการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเอง เพราะฉะนั้นเราถึง
จำเป็นต้องเอาผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ในการนำมาวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์การตลาด
แน่นอนว่าในส่วนของการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์การตลาดก็คงหนีไม่พ้น “ข้อมูล” ปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาล (BIG
DATA) ทำให้ธุรกิจเข้าใจสภาพตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ แต่ข้อมูลที่ได้หรือเกิดการบันทึกจำเป็นจะต้องเป็นข้อมูลจริง
ที่ถูกต้องและแม่นยำ ผู้ผลิตถึงจะสามารถนำข้อมูลนั้นมาวิเคาะห์โอกาส ดูความเป็นไปได้ รวมถึงนำมาวิเคราะห์ในส่วนของ
แผนการตลาดเพื่อกำหนดทิศทางที่ถูกต้องให้กับองค์กรในอนาคต ถ้าจะยกตัวอย่างสำหรับ BIG DATA ให้เห็นภาพแพตลฟอร์ม
ที่เป็นที่นิยมและคุณต้องรู้จักแน่นอน ซึ่งก็คือ Facebook, YouTube และ Line
การที่ผู้คนจำนวนมากใช้แฟลตฟอร์มดังกล่าวนั้น คอนเทนท์มีส่วนสำคัญในการดึงดูดความสนใจของคนหรือผู้บริโภค โดยเฉพาะ
คอนเทนท์ที่เป็นรูปภาพ แต่ในโลกธุรกิจที่ไม่เคยหยุดนิ่ง การตลาดยุค 4.0 ที่เน้นใช้สื่อดิจิทัล ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อ
นำเสนอ Content หรือโปรโมชัน อาจยังไม่เพียงพอในปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธที่ช่วยให้การใช้ช่องทางเหล่านั้นมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่กำลังจะก้าวเป็น การตลาดยุค 5.0 ยุค
เคยได้ยิน “การตลาดแบบไร้รอยต่อ (Omni channel)”
การตลาดยุค 5.0 คือการตลาดแบบไร้รอยต่อ ที่่ใช้ทุกๆช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ หรือออฟ
ไลน์ หรือแพลตฟอร์มใดๆ ก็ตาม เป็นการตลาดที่จะทำอย่างไรถึงจะสามารถเอาชนะใจลูกค้าได้ดีที่สุด หรือทีเรียกว่า Omni-
Chanel ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำการตลาดแบบยุค 5.0 ที่เน้นใช้ประโยชน์จากข้อมูล Big Data ให้เกิดประโยชน์สูงสุดใน
การวางกลยุทธ ต่อการทำตลาดของแบรนด์ เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำมาปรับกับการขายสินค้า ของแบรนด์ให้
ตอบโจทย์ของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เป็นต้น
และถึงการตลาดยุค 5.0 แล้วยังมีปัจจัยอีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นพระเอกในการตลาดยุค 5.0 หรือ อาจจะเรียกได้ว่าเป็น กษัตริย์องค์
ใหม่ของยุคการตลาดแบบดิจิตอล นั้นก็คือ “CONVERSION” หรือที่เรียกว่า “Conversion is King” นั้นเอง
Conversion is King หากอธิบายง่ายๆ ก็เป็นเรื่องของ Customer Journey หรือก็คือ แนวทาง หรือพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่
ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของเรา และเราสามารถนำ Customer Journey นี้มาวางแผนกลยุทธทางการตลาดไม่ว่าจะเป็น
แบบ ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Omni-Channel เพื่อเพิ่มมูลค่าและผลกำไรให้กับแบรนด์ นั้นเอง โดยพฤติกรรมของ
ผู้บริโภค มักจะมาในแนวทางที่คล้ายๆกัน โดยเริ่มจาก
การที่ลูกค้ารับรู้ถึงแบรนด์ (Awareness) เมื่อลูกค้ามีความต้องการอะไรสักอย่างหนึ่ง ต่อมาจะเริ่มหาข้อมูลของสินค้า หรือแบรนด์
นั้นๆ (Information Search) จากนั้นจะเกิดขั้นตอนของการเปรียบเทียบสินค้า และประเมินสินค้า (Evaluation) ด้วยหลายๆปัจจัย
ไม่ว่าเป็น ชื่อแบรนด์ , ราคา , คุณสมบัติ ฯ เป็นต้น และนำมาถึงขั้นตอนของการตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการ (Purchase) หลัง
จากนั้นจะเป็นขั้นตอนของประสบการณ์หลังใช้งานของผู้บริโภค (Usage) ที่นำมาสู่ขั้นตอนของการจะกลับมาซื้อซ้ำ หรือไม่
(Loyalty) นั้นเอง
จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่า พฤติกกรมของผู้บริโภคในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ในการซื้อสินค้าและบริการเปลี่ยน
ไปจากเดิมค่อนข้างมาก จึงสรุปออกมาได้ว่า Customer Journey ในยุคปัจจุบันนั้นอยู่บนโลกออนไลน์ กว่า 67% จากการสำรวจ
ของ Siriusdecisions (บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษา) ดังนั้นความสำคัญของการทำ Content ทางด้าน Digital Marketing และ
การลงโฆษณาทางด้านออนไลน์ จึงเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบันนี้
สรุปแล้ว “CONVERSION” คืออะไร?
อธิบายได้คร่าว ๆ คือ Conversion คือการวัดผลของกลุ่มเป้าหมาย ที่ตอบสนองต่อโพสต์หรือโฆษณาของแบรนด์โดยการ
พูดถึง ซึ่งเป็นการวัดผลจากการลงทุนในโฆษณา ออนไลน์ต่างๆ อาทิเช่น FACEBOOK ADS , GOOGLE ADS เป็นต้น ว่ามี
การแสดงผลดีหรือไม่ ต่อการลงโฆษณานั้นๆ เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรให้กับแบรนด์ของคุณ
เนื่องจากว่าการทำการตลาดในยุคดิจิทัล เรามักสร้างเนื้อหา Content ดีๆ เพื่อส่งไปยังกลุ่มเป้าหมาย แต่เราเคยมีการวัดผลไหม
ว่าาContent ที่ส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการโฆษณา ออนไลน์ต่างๆ หรือการให้รายละเอียด คำแนะนำ เกี่ยวกับสินค้าและ
บริการของธุรกิจ ที่เรามีการลงทุนไปนั้น ได้เปลี่ยนพวกเขาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าได้กี่คน? และ การลงทุนใน
ช่องทางออนไลน์ต่างๆนี้ สามารถเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้มากแค่ไหน?
หากยกให้ Omni channel เป็นหัวใจสำคัญของการตลาดยุค 5.0 แล้ว Conversion ก็ถือว่าเป็นสมองของยุคนี้ เนื่องจากว่าเป็น
เครื่องมือประมวลผลของสิ่งที่แบรนด์ได้มีการกระทำลงไป ว่าเหมาะสมหรือคุ่มค่าที่ลงทุนหรือไม่? เป็นต้น
จากข้อมูล DAAT (Digital Advertising Association Thailand) งาน DAAT Day Thailand Digital Advertising Spending
ได้สรุปตัวเลขงบโฆษณาดิจิตอลครึ่งปีแรกของไทยในปี 2019 ตัวเลขงบประมาณโฆษณาทั้งหมดอยู่ที่ 9,019 ล้านบาท และคาด
การณ์ว่าในครึ่งปีหลังจะมียอดงบประมาณโฆษณาอีก 11,144 ล้านบาท หรือประมาณ 19% จากการเติบโตเมื่อปี 2018 ที่อยู่ที่
36% นั้นเอง
และที่ผ่านมาหลายๆแบรนด์ได้ประสบกับปัญหาการลงทุนในช่องทางออนไลน์มีต้นทุนที่สูงมากขึ้นหรือมีการลงทุนทางด้าน
ดิจิตอล ลงไปแล้ว แต่ไม่ได้ผลกำไรที่ดีกลับมา ทำให้หลายๆแบรนด์ธุรกิจ เริ่มหันกลับมามองที่แบรนด์ว่าติดปัญหาที่ตรงส่วนใด
Conversion กับธุรกิจหรือแบรนด์
เมื่อเราเข้าใจความหมายของ Conversion แล้ว การทำการประเมิน Conversion Rate จากประเภทของสินค้าและแบรนด์ล่ะ ต้อง
ทำอย่างไร หากคุณเข้าใจตัวตนสินค้า และแบรนด์ของตัวเองรวมทั้งกลุ่มเป้าหมายของคุณแล้ว สามารถลองคำนวนคร่าว ๆ ง่ายๆ
ว่าโดยปกติแล้ว จาก 100 คนที่จะยอมซื้อของๆ เรา จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อวัด Conversion Rate คร่าวๆ ลูกค้าใช้เวลานานแค่
ไหนในการตัดสินใจ? , ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำอีกไหม? เป็นต้น
การตลาดยุค 5.0 นี้ เป็นยุคสมัยของการหา “ตัวตน” ของแบรนด์ หรือ Brand Character นั้นเองเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเราลงทุนทำ
อะไร สินค้า หรือ บริการของเรา จำเป็นที่จะต้องโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ มากพอจะดึงดูดกลุ่มเป้าหมายของสินค้าและบริการของ
เรา เนื่องจากสินค้าและบริการในโลกของธุรกิจมีมากมายหลายพันแบรนด์ และแน่นอนว่ากลยุทธทางการตลาดแบบ Content
Marketing ก็เป็นอีก 1 กลยุทธ ที่ถูกดึงมาใช้ในแคมเปญออนไลน์ ทำอย่างไรแบรนด์ถึงจะมีความโดดเด่น น่าไว้วางใจ , น่าจดจำ
สำหรับผู้บริโภค
ไม่ว่า Content ของคุณจะยอดเยี่ยมเพียงใดหน้าตาแบรนด์ ก็มักเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการดึงดูดความสนใจ และสร้าง
การรับรู้ที่ดีของผู้บริโภค ดังนั้้นวิธีการสร้างแบรนด์ที่สำคัญหลักใหญ่ๆ ได้แก่ การรับรู้จากรูปลักษณ์ ภายนอก ( Value) ไม่ว่าะเป็น
ในด้านของ สี , รูปแบบ , อัตลักษณ์ เช่น สัญลักษณ์รูปตัว M สีเหลือง พื้นหลังสีแดงของ Mcdonal, หรือรูปนางเหงือกสองหางสี
เขียว ของ Stabucks เป็นต้น และอีกส่วนเป็นของเนื้อหา (Text) ที่สะท้อนตัวตนของแบรนด์และสื่อถึงความแตกต่างจากแบรนด์
อื่นเช่น “การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า” เป็นต้น
ดังนั้นการเขียนเนื้อหาหรือ Content จึงเป็นสิ่งสำคัญในสื่อสารเอกลักษณ์ของแบรนด์ Brand Character ที่ช่วยให้การเล่าเรื่อง
เนื้อหาและบทความดูน่าสนใจมากขึ้น วันนี้เราลองมาศึกษากันว่า ปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้าง Contene ที่มีผลกับ
แบรนด์ ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในการตลาดยุค 5.0 นี้
วิธีสร้างคอนเท้นของ Conversion และไม่ทำให้เสียแบรนด์
ในการทำการตลาดยุคดิจิตอลนี้ แนวคิดการสร้างแบรนด์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การสร้างแบรนด์ที่สามารถสร้างร่วมกันกับ
ผู้บริโภค เพราะจะสะท้อนแนวคิดในการตลาดยุคใหม่ว่า ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric)” ที่จะนำไปสู่การตัดสินแบ
รนด์นั้นๆในเรื่องของคุณภาพสินค้าและบริการแล้ว ถ้าสินค้าไม่ดี สร้างสรรค์แค่ไหน แต่ถ้าลูกค้ามีประสบการณ์ไม่ดี การสร้าง
แบรนด์ก็ไม่เกิด
ดังนั้นคอนเทนต์ที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิด Conversion หรือการบอกให้กลุ่มเป้าหมายมีแอ็กชั่นอะไรบางอย่าง จะสามารถสื่อสาร
กับกลุ่มเป้าหมายอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแบรนด์
1. ภาษา
ในยุคการตลาดแบบดิจิตอลนี้ เมื่อแบรนด์มีสินค้าดีที่อยากนำเสนอให้ผู้บริโภค การสื่อสารก็ควรต้องดี มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น
เข้าใจง่าย และสามารถแก้ปัญหา และสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด ซึ่งก็คือ การสื่อสารอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึก
ถึงความเป็น “พวกเดียวกัน” ของทางแบรนด์ และตัวลูกค้ารู้สึกเหมือนการคุยปรึกษากันของคนสองคน มากกว่าการคุยกับบ็อต จะ
ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง และไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียดมากเกินไป จนเกิดความรู้สึกไม่ดีกับแบรนด์
อาทิ เช่น ในยุคนี้ แอดมินตามเพจต่างๆ มักจะไม่ค่อยเป็นบ็อท แต่เป็นคนจริงๆ มาตอบ แอดมินหยอกล้อเล่นกัน ทำผิดก็ยอมรับ
ขอโทษและหาทางแก้ไข ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เป็นต้น ตัวอย่าง แอดมินของ แบรนด์ไก่
ทอดระดับโลก อย่าง KFC ในประเทศไทยที่มีไหวพริบในการตอบคำถามลูกค้า ได้อย่างสนุกสนาน และมีสาระไปพร้อมๆกัน
2. พูดในสิ่งที่ผู้บริโภค อยากฟัง โดยอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่แบรนด์อยากพูด
สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลยของพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างหนึ่งคือ ผู้บริโภคยังต้องการประสบการณ์ที่ดีในการซื้อสินค้าอยู่เสมอ
เช่น ในกรณีที่แบรนด์ พยายามโปรโมทคุณสมบัติของสินค้า ต่างๆนา โดยคิดไปเองว่าผู้บริโภค ต้องการสินค้าชิ้นนี้ ถ้ามีแล้วจะ
ทำให้ชีวิตดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงผู้บริโภคไม่ได้แคร์สิ่งที่แบรนด์พูดขนาดนั้น ถ้ามันไม่ได้เกี่ยวข้องกับพวกเขาแบบตรงไปตรงมา
ดังนั้นการกระทำแบบนี้ จึงเป็นเหมือนการ ยัดเยียดคอนเท้นท์ที่ไม่ได้เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายอาจะทำให้เกิดประสบการณ์ที่ไม่ดี
ระหว่างลูกค้าและแบรนด์ ก็เป็นได้
เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ทันทีว่ามันเกี่ยวกับพวกเขาโดยตรง หรือประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ แบรนด์ต้องพูดถึงสิ่งที่อยู่ตรงกลาง
ระหว่างสิ่งที่ตัวเองอยากพูด และสิ่งที่ผู้บริโภคอยากฟัง ให้ได้มากสุด เพื่อให้ข้อมูลที่สื่อออกไป ตกผลึกให้ผู้บริโภคได้คิด
วิเคราะห์ และตัดสินใจด้วยตันเอง อีกครั้งว่า สินค้าชิ้นนี้จะทำให้ชีวิตพวกเค้าดีขึ้นอย่างไร โดยไม่ให้เกิดความรู้สึกว่ากำลังถูก
ยัดเยียดอยู่
3. จุดยืนของแบรนด์ และการจับต้องได้
เนื่องจากในปัจุบันมีสินค้า แบรนด์มากมายหลายๆอย่างที่เหมือนๆกัน ดังนั้นจึงอาจะเกิดคำถามที่ว่า “ทำไมลูกค้าจะต้องมาซื้อ
สินค้าและบริการของเรา? แบรนด์ของเราแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร?”
นี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า Brand Positioning หรือ จุดยืนของแบรนด์
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว หากแบรนด์ต้องการให้คำนิยามจุดยืนของตัวเอง แบรนด์ควรมีคำที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์
(unique) หรือ Brand Character ที่ชัดเจน ไม่ควรใช้คำที่เป็นคำกว้างๆ แต่ควรใช้คำที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของ
แบรนด์ เข้าใจง่าย และจับต้องได้ สื่อความเป็นตัวของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน ให้เป็นคำนิยามที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย สามารถจดจำ
ได้ง่าย และแตกต่างจากผู้อื่น เป็นต้น
อีกทั้งเรื่องสำคัญคือ คำนิยามหรือจุดยืนของแบรนด์ควรเป็นอะไรที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ฟังแล้วเข้าใจง่าย และสามารถจับ
ต้องได้
เช่น การบินไทย “รักคุณเท่าฟ้า” หรือ โตชิบ้า “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” เป็นต้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการตลาดยุค 5.0 นี้ มักเกี่ยวข้องกับ Omni-Chanel , Conversion , Customer Journey , Brand มีความ
เกี่ยวข้องกันแบบไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เนื่องจากว่าทั้งหมดนี้เป็นตัวสะท้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น คือ ผู้บริโภค และการ
ขายสินค้า นั้นเอง ดังนั้น การสร้างประสบการณ์ของแบรด์ ที่ดีให้กับลูกค้า สุดท้ายแล้วจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้ลูกค้าย้อนกลับ
มาใช้บริการ หรือซื้อสินค้าและบริการของแบรนด์อีกครั้ง ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรและความก้าวหน้าของแบรนด์ในอนาคตต่อไป
คอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไร ส่งผลกับโลกของเรายังไง?
253 week ago
มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism
253 week ago
Most read this week
Trending
Comments (2)
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion