มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism

มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism

การเรียนรู้และการพัฒนา

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

248 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism

 

ระบบทุนนิยมจากมวลชน หรือ Crowd-based Capitalism นั้นคือรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างผลกระทบระยะยาวต่อข้อบังคับจากภาครัฐ อนาคตของตำแหน่งงาน ที่กำลังเริ่มในปี 2020 นี้เอง และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก เนื่องจาก เศรษฐกิจแบ่งปัน หรือ Sharing Economy นั้นทำหน้าที่เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าทำให้ธุรกิจใหญ่ต้องสั่นคลอนไปหลายราย

 

          ในขณะที่ Crowd-based Capitalism กำลังขยายตัว ครอบคลุมแทบจะทุกมิติของสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งการสร้างงาน สร้างรายได้เพิ่ม สร้างให้เกิดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง ก็ยังมีผู้ที่ต่อต้านเศรษฐกิจรูปแบบนี้อยู่เช่นเดียวกัน รัฐบาลเองต้องรับมือกับรูปแบบเศรษฐกิจแบบใหม่นี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ มากมาย บางเมืองหรือบางประเทศ เลือกที่จะแบนการเข้ามาของธุรกิจแบ่งปันเช่น Uber หรือ Airbnb แต่อีกด้าน ก็มีอีกหลายประเทศที่ตัดสินใจลงทุนสนับสนุน เพื่อสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแรง รองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการงานภายใต้บริบทสังคมที่ทันเหตุการณ์ เพราะเหตุนี้เอง ในปี 2020 บริษัทหรือธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องทำความเข้าใจความสำคัญของพื้นที่การทำงานที่เปลี่ยนไป ทั้งเรื่องของชั่วโมงการทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และการเกิดขึ้นของ ออฟฟิศออนไลน์

 

          ถ้าอยากได้ใจคนในพื้นที่ ผู้ประกอบการในปี 2020 ต้องมีความเข้าใจความเท่าเทียม และความแตกต่างหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและรสนิยม ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นหนึ่งในหนทางที่สามารถสร้างกำไรได้มากกว่าธุรกิจที่ไม่สนใจความหลากหลาย เมื่อธุรกิจต้องการขยายการเติบโตไปสู่ระดับโลก ความท้าทายด้านความหลากหลายอย่างความเข้าใจในท้องถิ่นนั้นก็จำเป็นต้องเติบโตไปควบคู่กัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้แบรนด์กลายเป็นสาเหตุในการสร้างความไม่พอใจให้กับผู้บริโภคในตลาดแต่ละท้องถิ่น การเข้าใจในความหลากหลาย จึงถือว่าเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ ที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจนั้น ๆ แสดงออกถึงการมีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

          นักการตลาดส่วนใหญ่ในประเทศไทย ขาดความรู้เรื่องการทำความเข้าใจความแตกต่างหลากหลาย ทั้งด้านวัฒนธรรม รูปร่าง และรสนิยม เนื่องจากประเด็นเหล่านี้ถูกปัดไปเป็นเรื่องรอง ๆ จนไปถึงท้าย ๆ และไปเน้นให้ความสำคัญกับการได้รับกระแส การถูกกล่าวถึง และเรื่องผลกำไร ขาดทุนเสียมากกว่า เมื่อเป็นแบบนี้ หลายครั้งหลายครา จึงเกิดกระแสดราม่า ติดแฮชแท็ก วิพากษ์จารณ์แบรนด์ เจ้าของแบรนด์ ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ให้เกียรติ และไม่ทำความเข้าใจความแตกต่างหลากหลายของผู้บริโภค ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรตระหนักให้ได้ว่า การใส่ใจความหลากหลายของผู้บริโภคนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และที่สำคัญคือการทำความเข้าใจอย่างชาญฉลาดที่ธุรกิจพึงมี

 

          หลายครั้งนักการตลาดไทยมีการตีความผู้บริโภคอย่างผิด ๆ โดยเฉพาะทางด้านจิตวิทยา เช่น การเชื่อว่าการสร้างโฆษณาให้เกิด Emotional ต่อผู้บริโภคนั้นเป็นเรื่องที่เหมาะที่ควร แต่ในความเป็นจริง เราไม่จำเป็นต้อง ดราม่า น้ำตาแตกอะไรมากมาย แต่สามารถสื่อสารโดยใช้ความรู้สึกต่าง ๆ เข้าไปแทรกได้ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกดีใจ เป็นสุข เพลิดเพลิน โดยไม่จำเป็นต้องมาสร้างโฆษณาที่สื่อสารตรง ๆ เพราะการทำแบบนี้ผู้คนจะจำได้มากกว่าด้วย อีกเรื่องหนึ่ง คือ การคิดว่าผู้บริโภคมีการตัดสินใจด้วยเหตุและผล และสร้างเหตุจูงใจให้ผู้บริโภคในการซื้อสินค้า แต่ในความเป็นจริงนั้น มนุษย์มีอคติมากมายที่กลายมาเป็นส่วนในการตัดสินใจในการที่จะอุปโภคหรือบริโภคอะไรขึ้นมา ซึ่งทำให้การตลาดในปัจจุบันควรหันกลับมาทำความเข้าใจมนุษย์ในเชิงพฤติกรรมกันมากกว่าเดิม

 

          บริษัทต่าง ๆ อาจไม่มีต้นทุนที่จะไปให้ความสำคัญกับทุกพื้นที่ แต่สามารถเริ่มทำได้ด้วยการวิเคราะห์ความสำเร็จของแบรนด์อื่น ในการคิดคำนึงถึงส่วนรวมและสร้างกลยุทธ์ใหม่จากสิ่งที่ค้นพบเหล่านั้น ความเข้าใจที่ชัดเจนของพฤติกรรมของคนในท้องถิ่น และผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ทำให้แน่ใจได้ว่า ธุรกิจกำลังพัฒนาสินค้าไปในทางที่ถูกที่ควร สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง

มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism

Comments