เปลี่ยนความวิตกกังวลให้เป็นพลังขับเคลื่อนชีวิตได้อย่างไร

เปลี่ยนความวิตกกังวลให้เป็นพลังขับเคลื่อนชีวิตได้อย่างไร

สุขภาพและไลฟ์สไตล์

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

261 week ago — ใช้เวลาอ่าน 5 นาที

เปลี่ยนความวิตกกังวลให้เป็นพลังขับเคลื่อนชีวิตได้อย่างไร

 

ความวิตกกังวล เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อเราต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ทำให้เรารู้สึกกดดัน

กลัว วุ่นวายใจ และอยากจะเอามันออกไปจากชีวิต แต่ถึงแม้เราจะอยากหนีจากมันมากแค่ไหน ก็ถือว่าเป็น

เรื่องยากที่หลีกเลี่ยงได้อยู่ดี จากการศึกษาของ Our World in Data ในปี 2017 พบว่า เกือบ 284.36 ล้านคน

ทั่วโลกจมอยู่กับความวิตกกังวล และที่น่าเศร้า คือ ความวิตกกังวลนั้นเกิดขึ้นจากความกดดันทางสังคม ที่ยัง

ไม่มีใครสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหานี้ได้ 

 

ความวิตกกังวล คือ อะไร?  จากเว็บไซด์ Healthline “ความวิตกกังวล คือ กลไกการตอบสนองตามธรรมชาติ

ของร่างกายที่มีต่อความเครียด” ซึ่งเป็นความกลัวหรือความหวาดหวั่นต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่ถ้าบอกว่าเรา

สามารถใช้ประโยชน์จากความวิตกกังวลได้ เพียงแต่เราต้องเข้าใจ ตามทันความรู้สึกและเรียนรู้ที่จะควบคุมมัน

ให้เป็น วันนี้มี 5 วิธีในการเปลี่ยนความวิตกกังวลให้เป็นพลังสำหรับขับเคลื่อนชีวิต ดังนี้

 

  1. ยอมรับความรู้สึกตัวเอง : สิ่งที่สำคัญที่สุดอันดับแรก คือ การยอมรับความรู้สึกของตัวเองก่อน ว่าตอนนี้

  2. เราอยู่ในภาวะความรู้สึกที่ไม่ปกติ หรือมีภาวะความเครียดเกิดขึ้นกับเราจริง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าของ

  3. ธุรกิจขนาดเล็ก คงเข้าใจดีว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่ต้องดูแลหลาย ๆ อย่าง ในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการ

  4. ประชุมหรือตารางเวลาที่แน่นตลอดเวลา ทำให้เกิดความเครียดสะสมได้โดยไม่รู้ตัว ถ้าเราไม่คอยสังเกต

ตัวเอง นอกจากนี้สาเหตุหลักที่ทำให้เราเกิดภาวะเครียดในปัจจุบันนั้นมาจากสภาพสังคม ที่มองว่าคนที่มี

ปัญหาทางจิตหรือความผิดปกติทางอารมณ์จะถูกประณามว่าเป็นคนที่ผิดเพี้ยน ไม่ปกติ ทำให้คนที่มีปัญหานี้

ยากที่จะเผชิญหน้าและยอมรับตัวเอง โดยไม่ต้องสนใจความคิดเห็นของคนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม การยอมรับ

ความรู้สึกของตัวเอง ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการหาวิธีการจัดการกับอารมณ์ของเราหรือหาวิธีที่ทำให้เราผ่อนคลาย

มากขึ้น

 

  1. การรู้ทันความรู้สึกของตัวเอง : เมื่อเรารู้ทันความรู้สึกตัวเอง เราสามารถเปลี่ยนความวิตกกังวลให้เป็นกำลังใจหรือแรงผลักดันของเราได้ โดยการเปลี่ยนวิธีการคิด เช่น

  • คุณเคยรู้สึกประหม่าเวลาที่จะพบลูกค้าใหม่และกังวลว่าจะการคุยจะไม่เป็นไปได้ด้วยดีไหม ? 

คิดบวก : คุณสามารถเปลี่ยนวิธีการคิดโดยใช้ความวิตกกังวลเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นแทน โดยถือเป็นโอกาสที่

จะได้แสดงความสามารถและทำให้ลูกค้าประทับใจ

 

  • คุณเคยไม่อยากไปทำงาน เพราะกลัวการเผชิญหน้ากับเพื่อนร่วมงานที่ยังมีประเด็นที่ยังคาใจกันและคุณ

  • เลือกที่จะไม่พูดถึงมันจนกระทั่งเรื่องมันหายไปเองไหม ?  

คิดบวก : แทนที่คุณจะจมอยู่กับความกลัว คุณควรที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาและแก้ไขมัน

การรู้ทันความรู้สึกของตัวเอง และฝึกฝนตัวเองให้คิดบวก จะช่วยให้เราลดความวิตกกังวลลงได้ แต่สิ่งที่สำคัญ

ที่สุด คือ การยอมรับที่อยู่ในพื้นฐานในโลกของความเป็นจริง เพราะการยอมรับและเข้าใจปัญหาที่แท้จริง

จะทำให้ง่ายสำหรับการหาวิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง 

  1. ความวิตกกังวลเป็นสัญญาณบอกให้คุณทำอะไรบางอย่าง : ถ้าคุณรู้สึกอึดอัด ตื่นตระหนกและ

    กระวนกระวายใจ หาทางออกไม่ได้ ราวกับว่ากำลังถูกมารผจญ นั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังตก

    อยู่ในอาการวิตกกังวล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราควบคุมมันไม่ได้ เพียงแต่คุณจำเป็นต้องทำอะไรสัก

    อย่างเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจกับเรื่องที่กำลังกังวล การฝึกให้ตัวเองทำแบบนี้บ่อย ๆ จะช่วยให้คุณ

    สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น 

  2. เปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร : อาการวิตกกังวลส่วนใหญ่เกิดจากความเครียดสะสม แต่แทนที่จะคิดว่า

    ความเครียดเป็นเหมือนศัตรูของเรา เราสามารถเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตรได้ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิด เพราะเรา

    สามารถควบคุมความคิดของตัวเองได้ และที่สำคัญเมื่อเรารู้สึกเครียด มันเป็นสัญญาณที่บ่งบอกให้เรา

    ต้องหันกลับมาดูแลตัวเอง ทำในสิ่งที่ให้คุณค่ากับชีวิตตัวเอง

เมื่อรู้ตัวเองว่าถูกครอบงำด้วยความเครียด ให้ถามตัวเองว่า 

  • สาเหตุของความเครียดนั้นเกิดจากอะไร?

  • ความเครียดมีผลกระทบกับชีวิตมากน้อยเพียงใด?

  • ถ้าไม่จัดการกับมันตอนนี้ ชีวิตจะเป็นอย่างไร?

หลังจากที่คุณหาสาเหตุของความเครียดนั้นเจอ คุณก็จะหาวิธีที่จะคลายเครียดได้

  1. พยายามหากิจกรรมที่คุณชอบ : เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนความวิตกกังวลให้เป็นพลังบวกที่ขับเคลื่อนชีวิต

    คงไม่พ้นการพูดถึงการทำสิ่งหรือหากิจจกรรมที่ทำให้เรามีความสุข โดยส่วนใหญ่คนที่มีความวิตกกังวล

    นั้น เป็นคนที่มีความทะเยอทะยานและประสบความสำเร็จสูง เนื่องจากพวกเขาต้องการความสมบูรณ์

    แบบในชีวิตและพยายามทำทุกอย่างเพื่อที่จะทำให้ตัวเองและผู้อื่นพอใจ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีอะไร

    ไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง ก็จะทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกหงุดหงิด โกรธ หรือโมโหง่าย เพราะฉะนั้นเขาจึง

    จำเป็นต้องหากิจกรรมที่ตัวเองชอบ ไม่ก็อาจจะหาความสุขเล็ก ๆ จากสิ่งรอบตัว เช่น การฟังเพลง

    การทำอาหาร การทำสวน วาดรูป โยคะ หรืออาจจะออกเดินทาง

นี่เป็น 5 วิธี ที่อยากแชร์เพื่อสุขภาพจิตและสุขภาพใจที่ดี เพราะการฟังเสียงข้างในของตัวเอง อยู่ในโลกของ

ความเป็นจริง ฝึกฝนตัวเองให้ตามทันความรู้สึก และคิดบวก จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยเปลี่ยนความวิตกกังวล

เป็นพลังขับเคลื่อนชีวิตได้

Comments