อย่าคิดหนีภาษีขายของออนไลน์ปี 2560

อย่าคิดหนีภาษีขายของออนไลน์ปี 2560

ภาษีและการตรวจสอบ

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

372 week ago — ใช้เวลาอ่าน 3 นาที

ในยุค 4.0 ค่านิยมการช้อปปิ้งมีความหลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อของ โดยเฉพาะการช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีการบริการการค้าขายให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น ดังนั้นรายได้จากการขายของออนไลน์จึงเป็นช่องทางที่หลายคนสนใจ การค้าขายออนไลน์ที่ใครก็สามารถทำได้โดยไม่จำกัด อายุ เพศ การศึกษา เพียงแค่เคารพกฏหมายที่วางไว้อย่างถูกต้อง ซึ่งรายได้จากการขายของออนไลน์อาจจะสามารถสร้างกำไรได้ตั้งแต่หลักพันถึงหลักล้านเพียงปลายนิ้ว

 

เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์หรือเปิดร้านค้าออนไลน์ สิ่งที่ต้องทำถัดมาคือ การเสียภาษีให้ถูกต้อง  ซึ่งประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 มีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้

เงินได้ประเภทที่ 1 เงินที่ได้จากการจ้างแรงงาน

เงินได้ประเภทที่ 2 เงินที่ได้มาจากหน้าที่หรือตำแหน่ง

เงินได้ประเภทที่ 3 เงินได้จากค่าลิขสิทธฺ์ สิทธิบัตร

เงินได้ประเภทที่ 4 เงินได้จากดอกเบี้ยปันผล หรือดอกเบี้ยธนาคาร

เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากค่าเช่าต่างๆ

เงินได้ประเภทที่ 6 เงินได้จากวิชาชีพอิสระที่มีใบอนุญาต

เงินได้ประเภทที่ 7 เงินได้จากการรับเหมา

เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการค้าขาย หรือเงินอื่นๆ ที่ไม่ได้ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น

 

รายได้จากการขายของออนไลน์จัดอยู่ในประเภทที่ 8 ตามประราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 กำหนดให้ผู้ประกอบการทำการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เพราะสามารถติดตามเจ้าของร้านค้าได้ในกรณีที่มีผู้บริโภคร้องเรียน การขายของออนไลน์ต้องจดทะเบียนเพื่อเป็นนิติบุคคลไม่อย่างนั้นจะระวางโทษไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท และการค้าขายออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับภาษีอยู่ 2 ประเภทดังนี้

 

  1. ภาษีเงินได้

  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT

 

โดยการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจ่ายต่อเมื่อร้านค้ามีรายได้มากกว่า หนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี แต่ถ้ารายได้ไม่ถึงจะถูกจัดอยู่ในหมวดเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ก่อนจะเสียภาษีร้านค้าควรคำนวณภาษีโดยการหักค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนทั้งหมดของเงินได้ แล้วนำกำไรหรือรายได้สุทธิมาคำนวณภาษี โดยการหักค่าใช้จ่ายมี 2 วิธี คือ

  1. แบบเหมา โดยจะคิดแบบเหมาต้นทุน 80%และ 20% คือรายได้ทั้งหมดแล้วนำไปคำนวณภาษี

  2. แบบตามความจำเป็น โดยจะคิดแบบนำค่าใช้จ่ายตามจริงที่เกิดขึ้นหักเป็นต้นทุน แต่ถ้าเอกสารไม่ครบหรือไม่ถูกต้องจะต้องเสียภาษีมากกว่าเดิม

 

การหนีภาษีของร้านค้าออนไลน์มีผลกระทบอะไรบ้าง

เราอาจจะเห็นตัวอย่างการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังที่มักจะมีการโต้งแย้งกันบ่อยๆว่า โดนเรียกเก็บมากกว่าภาษีจริงที่ต้องจ่าย เพราะการหนีภาษีนอกจากจะต้องเสียภาษีแล้วยังต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน  และค่าปรับอีก 2 เท่าของภาษีที่ต้องเสียอีกด้วย และถ้าผลประกอบการมีมากกว่า หนึ่งล้านแปดแสนบาท แต่ไม่มีการออก Vat 7% ให้กับลูกค้าผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายให้กับสรรพกรทั้งหมด

 

Comments