334 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที
หลายคนอาจเคยชินกับการต้องเดินเรื่องและรวบรวมเอกสารในการจดทะเบียนต่างๆ เพื่อเป็นส่วนประกอบในการทำธุรกิจ และในบรรดารายการต้องจดทะเบียนเพื่อขออนุญาตที่หลายคนไม่มั่นใจหรือหวั่นใจคิดว่าต้องมีเรื่องของ การขอจดทะเบียน อย. อยู่ด้วยอย่างแน่นอน
เครื่องหมาย อย. คือ สัญลักษณ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์การผลิตและการนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยได้ปฏิบัติตามกฎหมายเบื้องต้นของ อย.แล้ว การจดทะเบียน อย. ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม เพราะถือเป็นเอกสารที่จำเป็นเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอาหารและเครื่องสำอาง เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความแน่ใจในการตรวจสอบตั้งแต่วัตถุดิบและขั้นตอนการผลิตไปจนถึงบรรจุภัณฑ์
ซึ่งการขึ้นทะเบียน อย. สำหรับสินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตในการผลิตจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. เป็นผลิตภัณฑ์หรืออาหารไม่แปรรูปหรือเป็นการแปรรูปอย่างง่าย มีเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือมีคนงานน้อยกว่า 7 คน สามารถผลิตและจำหน่ายได้ในชุมชน แต่ต้องผ่านการผลิตที่ถูกต้องตามกระทรวงสาธารณสุข เช่น การผลิตโดยการผ่านความร้อนและการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ไม่มีสารที่เป็นอันตรายเจือปน
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. เป็นผลิตภัณฑ์หรืออาหารแปรรูปหรืออาหารสำเร็จรูปที่มีผลก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำไปถึงสูง เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก มีการกำหนดคุณภาพ และการควมคุมเฉพาะ ดังนั้น ต้องขออนุญาตเกี่ยวกับสถานที่ผลิต และต้องไปขอขึ้นทะเบียนอาหาร หรือจดแจ้งรายละเอียดต่างๆ กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสาธารณสุขจังหวัด
การเตรียมเอกสารเพื่อขอจัดตั้งโรงงานหรือจัดตั้งการผลิต มีดังนี้
สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคลล)
สำเนา ภพ.20 (เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล)
สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือบริษัท (กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ
แผนที่ตั้งของร้าน หรือบริษัท
แผนผังภายในร้าน หรือบริษัท ระบุ สถานที่ผลิต บรรจุ เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
สินค้าตัวอย่างพร้อม ฉลาก
หลักฐานสำคัญสำหรับขอรับหนังสือรับรอง อย.
ใบจดทะเบียนผลิตภัณฑ์/แจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์ (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
ใบรับรองสถานที่ผลิตที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP
ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
จัดเตรียมสถานที่ผลิตให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practice)
จัดเตรียมเอกสารโดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตทุกแห่ง
ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิต พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสถานที่
ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก
สถานที่ยื่นคำขอ
ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (0ne stop service center )สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้นๆ
ผู้ประกอบการควรวางแผนและศึกษาข้อกฎหมายการผลิตสินค้าในหมวดหมู่อาหารและเครื่องสำอางให้ดีก่อนที่จะลงทุนผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานออกมาสู่ผู้บริโภค เพราะโทษนั้นรุนแรงถึงขั้นสามารถฟ้องร้องหมดตัวได้เลยทีเดียว และการมีเครื่องหมาย อย.และสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐานทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจในสินค้าของเราได้เป้นอย่างดี
คอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไร ส่งผลกับโลกของเรายังไง?
253 week ago
มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism
253 week ago
Most read this week
Trending
Comments
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion