Hub of Entertainment สร้าง Value ใหม่ให้รีเทลไทย

Hub of Entertainment สร้าง Value ใหม่ให้รีเทลไทย

การพัฒนาธุรกิจ

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

256 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดรีเทลไทยมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การแข่งกันระหว่างรีเทลเจ้าต่าง ๆ กลายเป็นสมรภูมิที่ดุเดือดไม่เป็นรองสนามธุรกิจอื่น ๆ ผู้เล่นรายใหญ่ของตลาดรีเทล ต่างฝ่ายต่างงัดทุกกลยทธ์ออกมาใช้ เช่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ อย่าง Digital Marketing Platform เช่น Mobile Application เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและประสบการณ์ใหม่ ๆ กับลูกค้า และการจัด Event ต่าง ๆ มากมาย เพื่อเข้าถึงลูกค้าที่ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว

 

ล่าสุดเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ The Mall Group ถือเป็น Game Changing ในประวัติศาสตร์ ที่ทุ่มงบกว่าแสนล้าน เพื่อเปลี่ยนศูนย์การค้าในเครือ The Mall Group ให้กลายเป็นศูนย์กลางของความบันเทิง แฟชั่น และไลฟ์สไตล์ ที่เป็นมากกว่าแค่ที่ช้อปปิ้ง เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ปัจจุบันของลูกค้า เช่น

 

“The Em District” ตั้งอยู่ใจกลางย่านสุขุมวิท ซึ่งถือเป็น Prime Location ที่มีทั้งคนไทยและต่างชาติที่มีกำลังซื้ออาศัยอยู่ ประกอบด้วย Emporium, EmQuartier และ Emsphere ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ซึ่งภายในจะมี “Em Live” สถานที่จัดการแสดงขนาด 6,000 ที่นั่ง

 

รวมไปถึงโปรเจ็กต์ “Bangkok Mall” ซึ่งเป็น Mega Mixed Used Complex ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่จุดตัดระหว่างถนนบางนา-ตราด กับสุขุมวิท ซึ่งมี “Bangkok Arena” สถานที่จัดการแสดงขนาด 16,000 ที่นั่ง และยังเป็น เป็นอาณาจักรศูนย์การค้าและที่อยู่อาศัย รวมถึงออฟฟิศแบบครบวงจร คาดการณ์ว่าจะสร้างเสร็จในปี 2565

 

นอกจากนี้ยังได้ทำการ Renovate ศูนย์การค้าเก่าของ The Mall Group เช่น เดอะมอลล์ รามคำแหง, เดอะมอลล์ ท่าพระ, เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน, เดอะมอลล์ บางแค และเดอะมอลล์ บางกะปิ เพื่อให้เป็น Lifestyle mall ที่สามารถรองรับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ไม่ได้เป็นแค่ neighbourhood mall เหมือนแต่ก่อน

 

เหตุผลและทิศทางในการปรับเปลี่ยนหลักของ The Mall Group

 

1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบของศูนย์การค้าธรรมดา ให้กลายเป็น Mixed-Use Complex และศูนย์กลางความบันเทิงต่าง ๆ ทั้งการแสดงดนตรี การแสดงศิลปะ และร้านอาหารเพื่อตอบสนองกับลูกค้าซึ่งมองหาสถานที่ที่เป็นมากกว่าแค่ที่ช้อปปิ้ง เป็นการเปลี่ยนแปลงไปอีกระดับหนึ่ง เพื่อสู้กับทั้งคู่แข่งหลัก และศูนย์การค้าอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่มากมาย ทั้งจากผู้ลงทุนชาวไทยและผู้ลงทุนต่างชาติ เช่น จีน และญี่ปุ่น รวมไปถึงซัพพลายเออร์หลายเจ้าที่หันมาทำธุรกิจร้านค้าปลีกเสียเอง จึงต้องปรับตัวและสร้างความแตกต่างจากศูนย์การค้าอื่น ๆ

 

2. ปรับเปลี่ยนเวลาปิดของศูนย์การค้าใน Prime Location อย่างเช่น สุขุมวิท ให้เปิดบริการถึงตี 5 เนื่องจากปัจจุบันมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกย่อยมากขึ้น ทั้งลูกค้าไทยและต่างชาติ ซึ่งสนุกสนานกับ Night Life ถึงดึกแล้วก็ยังไม่อยากกลับที่พัก ก่อนหน้านี้ถ้าพูดถึง Night Life ในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ก็จะคิดถึงผับ บาร์ หรือย่านถนนข้าวสาร ซึ่งการปรับเปลี่ยนของ The mall Group ครั้งนี้จะเป็นการ Repositioning และสร้างมาตรฐาน ของธุรกิจบันเทิง ภาคกลางคืน ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้การเพิ่มเวลาเปิด ยังเป็นโอกาสในการขายสินค้า และบริการภายในศูนย์การค้า

 

3. การพัฒนาของธุรกิจ E-Commerce ในไทย เช่น Shopee และ Lazada ซึ่งกลายเป็นแกนกลางสำคัญที่ส่งผลกระทบไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อย่างรอบด้านตามมา ผู้บริโภคหลายรายหันไปซื้อของจากแอปฯ เหล่านี้ แทนที่การไปศูนย์การค้า เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงเป็น Entertainment Hub ของ The Mall Group ในครั้งนี้ จะเป็นการณ์สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ซึ่งจะเป็นมากกว่าแค่ที่ช้อปปิ้ง ซึ่งจะไม่ทำให้เกิด Technology Disruption เพราะจะนำเสนอความบันเทิง ที่ผู้บริโภคต้องการมาสัมผัสด้วยตัวเอง ไม่สามารถดูผ่าน Smartphone ได้ ถือเป็นการสร้าง Value ใหม่ให้กับรีเทลไทย

Comments