338 week ago — ใช้เวลาอ่าน 3 นาที
จริงหรือ "ที่ว่า"...
“สร้างแบรนด์สิคะ ก็ได้ราคาเอง
ทำ story ก็ได้ราคาแพง
พัฒนาให้ดูแปลก แหวกแนว
สร้างสรรค์ ก็ได้ราคา”
เวลาเราซื้อสินค้าอะไรที่เป็นขาประจำ...เพราะสิ่งเหล่านี้รึเปล่านะ ลองถามใจตัวเองดูว่า เราซื้อเพราะอะไร ถ้า...อยากได้...ถ้าอยากได้ลูกค้า "สตรอง" ติดใจ เหนียวแน่น อยู่กันยาว ๆ ก็ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึก "คุ้ม" คุ้มค่าทุกครั้งที่ซื้อและใช้…ถ้าอยากได้ลูกค้า "หวือหวา" ตื่นเต้น ก็ต้องออกสินค้าใหม่โดนใจบ่อยๆ จัดจ้านโดนใจ...ถ้าอยากได้ลูกค้า "หลงรัก" in love สินค้าเราก็ต้องรักษาคุณภาพและพัฒนาต่อเนื่อง ในจุดที่เขารักไปนาน ๆ
แล้ว...แบรนด์สำคัญไหม แบรนด์ก็สำคัญ สตอรี่ก็สำคัญ แต่ทุกอย่างเป็นองค์ประกอบกัน ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ สตอรี่ และไม่หันมามองคุณลักษณะและมาตรฐานที่ทำให้ลูกค้ารัก ทุกอย่างต้องมีองค์ประกอบที่สมดุล ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีกับเรา ก็ดึงดูดให้ใช้สินค้าเราไปนาน ๆ
มาดู 3 เรื่องสำหรับเริ่มต้น Branding ยุคนี้นอกจากเป็นยุค 4.0 การเป็น Creative Economy ก็ผลักดันให้คนที่มีสินค้าอยู่แล้วหันมาสร้างแบรนด์ สร้างมูลค่า อาจจะด้วยนวัตกรรม หรือ วัฒนธรรม ก็ตาม บางคนก็บอกว่าสร้างได้ด้วยตัวเองภายใน 5 นาที บางคนก็บอกว่า...โอย ยาก ต้องจ่ายแพงถึงจะได้ดี ลองคิดกันดูดีไหมว่า เรื่องแบรนด์ต้องทำอะไรกันบ้าง
1. คนมี "ชื่อ" - แบรนด์...มี "ชื่อ+สัญลักษณ์” ข้อนี้เชื่อว่าทุกกิจการก็ต้องมี เพื่อให้ลูกค้าเรียกผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการค้าของเราอย่างถูกต้อง
2. คนมี "ร่างกาย" - แบรนด์…มี "ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ" ข้อนี้ก็ต้องดูนะคะว่าสินค้าของเราทำเพื่อใคร คนกลุ่มใหญ่ หรือคนกลุ่มเล็ก ...หากบอกว่า “ก็ขายทุกคนแหละค่ะ" อันนี้ก็ต้องกลับไปทบทวนกันว่า ใครซื้อสินค้าเรามากที่สุด และเป็นขาประจำหรือแฟนคลับตัวจริงของสินค้าเรา ถ้าไม่รู้ก็เริ่มต้นทำความเข้าใจให้มาก เพื่อเราจะได้รู้ชัดว่าคนกลุ่มไหนแน่ที่ปลาบปลื้มเรา
3. คนมี "นิสัย" – แบรนด์…มี "บุคลิกภาพ" การกำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์ เป็นการกำหนดตัวตนของสินค้า ตัวตนของกิจการออกมาให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและคนทั่วไปได้รับรู้...แล้วสร้างบุคลิกกันตรงไหนล่ะถึงจะเห็นว่าแบรนด์มีบุคลิกภาพ ก็ต้องใช้ Graphic ที่เป็นองค์ประกอบของชื่อ เครื่องหมายการค้าสัญลักษณ์ ลาย สีสัน ตัวอักษรหรือฟอนต์ รวมทั้งตัวสินค้าด้วย
จากทั้ง 3 ข้อจะเห็นว่าถ้ากิจการไม่เคยรู้จักลูกค้าตัวเอง ไม่รู้ว่าลูกค้าชอบอะไรในผลิตภัณฑ์ของเรา หรือว่าไม่ชอบอะไร การกำหนดบุคลิกภาพก็จะทำอย่างที่เจ้าของชอบ หรือยึดเอาความสวยมาเป็นที่ตั้ง ทำให้เมื่อออกมาแล้วอาจไม่ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีโอกาสส่งผลให้คนที่ยังไม่เป็นขาประจำก็อาจเปลี่ยนความชอบไปหาคู่แข่งหรือสินค้าทดแทน ส่วนถ้าชอบมากแต่ออกแบบจนไม่มั่นใจว่าเป็นสินค้าตัวเดิมไหม ก็พาลจะไม่ซื้อ นึกว่าเป็นของปลอม ก็เสียหาย จึงควรเริ่มหาหรือเก็บข้อมูลก่อนก็แล้วกัน แล้วจึงค่อย ๆ ดำเนินการกันต่อไป
โพสต์โดย
Varinthon Sutawongse1. บริการจัดอบรม สัมมนา และงานที่ปรึกษาองค์กร (ภาคเอกชน) และที่ปรึกษาโครงการภาครัฐ 2.บริการให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาช่องทางการตลาด พัฒนาทีมขาย จัดการบริหาร...
Most read this week
Trending
Comments
Share this content
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion