4 แบรนด์ไทยกับธุรกิจ E-Sport

4 แบรนด์ไทยกับธุรกิจ E-Sport

ดิจิตอลและเทคโนโลยี

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

265 week ago — ใช้เวลาอ่าน 6 นาที

4 แบรนด์ไทยกับธุรกิจ E-Sport 

ในปี 2560 รายงาน Global eSport Market ได้ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ที่เล่นเกมออนไลน์หรือ eSport สูงถึง 18.3 ล้านคน ทำให้ไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 20 ในวงการกีฬา eSport ของโลก ซึ่งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเผยว่าอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์เกมของไทยมีอัตราโตขึ้นอยู่ที่ 12% ต่อปี ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่สูงมากและกำลังอยู่ในช่วงธุรกิจขาขึ้น ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจ eSport นั้นจัดว่าเป็นธุรกิจที่เนื้อหอมที่สุดธุรกิจหนึ่ง และแน่นอนว่าเม็ดเงินมหาศาลของธุรกิจ eSport นี้ย่อมไม่หลุดพ้นสายตาของแบรนด์ใหญ่ ๆ ในประเทศไทย 

AIS: วงการโทรคมนาคมไทยกับกีฬา eSport

AIS นั้นนับว่าเป็นแบรนด์แรก ๆ ที่ทุ่มสดตัวกับธุรกิจ eSport ด้วยกลยุทธ์ผลักดันกีฬา eSport แบบเต็มรูปแบบ โดยเริ่มจากการเริ่มจับมือกับพันธมิตรหลัก ๆ ในวงการ ไม่ว่าจะเป็น สมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยมหาลัยชั้นนำต่าง ๆ บริษัทเกมออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของโลก หรือแม้กระทั่ง SingTel หรือ Rabbit LINE Pay โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2562AIS ได้เผยถึงนโยบายผลักดัน eSport ด้วยกัน 4 ด้านได้แก่ – 1) Connect2) Compete 3) Share และ 4) Educate 

  1. Connect – การเชื่อมต่อด้วยระบบเครือข่ายความเร็วสูงแบบไม่มีสะดุดด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วและความเสถียรของระบบ เพื่อประสบการณ์การเล่นเกมออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบ้านก็ตาม นอกจากนี้ AIS ยังมีการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการด้านเกมออนไลน์ผ่านระบบร้านค้าออนไลน์และระบบการจ่ายเงินออนไลน์อีกด้วย

  2. Compete – การเปิดตัวสนามประลองกีฬา eSport อย่างเต็มรูปแบบ หรือ AIS eSports Platform ซึ่งสนามแห่งนี้เป็นสนามรูปแบบเปิดเพื่อให้นักกีฬา eSport สามารถจัดการแข่งขันเพื่อประลองฝีมือกัน หรือจัดการแข่งขันชิงรางวัลจากกีฬา eSport ได้ 

  3. Share – การเปิดช่องทางสื่อเผยแพร่การแข่งขันกีฬา eSport ออนไลน์ภายใต้ชื่อ “AIS eSport eGG Network Channel” โดยทำการกระจายข่าวและถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา eSport ทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งผู้ชมสามารถเข้าถึงเนื้อหาเหล่านี้ได้ทั้งผ่านรูปแบบการถ่ายทอดสด และการรับชมบันทึกเทปในรูปแบบ on-demand ผ่าน AIS PLAY และ AIS PLAYBOX

  4. Educate – การร่วมมือกันระหว่าง AIS และมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยเพื่อให้ความรู้นักศึกษาในเรื่องของศาสตร์แห่งกีฬา eSport และความรู้เกี่ยวกับ eSport แบบครบวงจรด้วยการนำเสนอหลักสูตรการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะและความสามารถต่าง ๆ ในด้านกีฬา eSport ผ่านการลงมือทำจริง 

อย่างไรก็ตาม AIS ไม่ใช่แบรนด์เดียวในวงการโทรคมนาคมที่เริ่มหันมาพัฒนาธุรกิจ eSport เพราะล่าสุด TrueMove และ DTAC ก็ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวในการสนับสนุนกีฬา eSport และเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ 

Major Group: eSport และธุรกิจโรงภาพยนตร์ 

Major Group หนึ่งในผู้นำแห่งวงการธุรกิจโรงภาพยนตร์ไทย เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ใหญ่ที่ออกตัวสนับสนุนกีฬา eSport ด้วยธุรกิจโรงภาพยนตร์ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากช่องทางในการเข้าชมเนื้อหาภาพยนตร์และซีรีส์ออนไลน์ผ่านช่องสื่อออนไลน์อย่าง Netflix เป็นต้น ทำให้เครือ Major เริ่มเสาะหาเนื้อหาใหม่ ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายของเนื้อหาที่จะนำเสนอให้แก่ผู้ชมในโรงภาพยนต์ของตน 

ด้วยการจับมือร่วมกับ Dell เครือ Major ได้เริ่มทำการปรับปรุงจอในโรงภาพยนตร์ 4K พ่วงด้วยระบบเสียงแบบ surround และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้สามารถแปรงสภาพโรงภาพยนตร์จอยักษ์ระบบ 4K เป็นสถามแข่งกีฬา eSport ครบวงจร โดยสามารถบรรจุนักกีฬา eSport ได้มากถึง 72 คนพร้อม ๆ กัน และสามารถรองรับผู้เข้าชมได้มากถึง 200 คน ซึ่งจากการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ทำให้ Major สามารถเจาะตลาดไปสู่กลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ได้ นั่นก็คือกลุ่มธุรกิจ eSport ที่กำลังเสาะหาสถานที่ในการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬา eSport พร้อมด้วยบริการและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดงานแบบครบวงจร 

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด: จากสโมสรกีฬาฟุตบอลสู่สโมสรกีฬา eSport

ถึงแม้ว่ากีฬา eSport จะได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 แต่การที่สโมสรกีฬาฟุตบอลแถวหน้าของเมืองไทยอย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ออกมาเปิดตัวทีมนักกีฬา eSport อย่างเป็นทางการก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่คาดฝันสำรหับใครหลาย ๆ คน ซึ่งการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในครั้งนี้นับเป็นก้าวแรกของสโมสรฯ ในการขยายช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มเติมผ่านกีฬา eSport ถึงแม้จะยังไม่ละทิ้งกีฬาฟุตบอล  

นอกจากนี้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ดยังได้ร่วมก่อตั้ง eSport Academy เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกฝนกีฬา eSport ให้กับนักกีฬาเยาวชน และเป็นการเตรียมพร้อมให้เยาวชนไทยเข้าถึงธุรกิจ eSport รวมถึงการเข้าถึงสายงานในวงการ eSport ได้อีกด้วย โดยสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้ลงทุนสร้างสนามกีฬา eSport เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬา eSport นัดสำคัญ ๆ อีกด้วย 

Acer: ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของกีฬา eSport

นอกจากการเปิดตัวคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กรุ่นใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อเอาใจคอเกมโดยเฉพาะแล้ว Acer ยังเป็นผู้สนับสนุนหลักในวงการ eSport มาอย่างสม่ำเสมอ และยังเป็นผู้จัดการแข่งขันกีฬา eSport รายใหญ่ของไทยที่จัดการแข่งขันสำคัญ ๆ ระดับประเทศมากว่า 4 ปี ซึ่งที่ผ่านมามีนักกีฬา eSport ผู้เข้าร่วมงาน Predator League มากกว่า 1,900 คน จาก 320 ทีมใน PUGB และ อีก 64 ทีมใน DOTA2  ซึ่ง Acer ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนัดใหญ่ ๆ ในวงการ eSport มาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นผู้ขัดเลือดตัวแทนจากประเทศไทยที่จะเข้าไปสู่การแข่งขันรอบต่อไปในรายการการแข่งขันระดับโลกอีกด้วย นอกจากนี้ Acer ยังเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งเป้าหมายต่อไปของ Acer คือการจัด League การแข่งขันกีฬา eSport ไปในระดับประเทศ 

สองปีที่ผ่านมานับว่าเป็นปีที่ตื่นตาตื่นใจมากสำหรับวงการธุรกิจ eSport ด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่ง 4 แบรนด์ไทยที่เราได้พูดถึงนี้นับเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแบรนด์ไทยอีกหลายแบรนด์ที่ได้เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจ eSport และในอนาคต หากธุรกิจนี้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง การที่จะเห็นเม็ดเงินของนักลงทุนที่จะไหลเข้ามาเพิ่มก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก

 

Comments