4 ขั้นของวัฏจักรผลิตภัณฑ์ที่นักการตลาดต้องรู้

4 ขั้นของวัฏจักรผลิตภัณฑ์ที่นักการตลาดต้องรู้

การตลาด

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

349 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

ทุกผลิตภัณฑ์ต้องผ่านวงจรของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป การตระหนักถึงขั้นตอนเหล่านี้และความเกี่ยวข้องที่เกิดขึ้นจะช่วยให้นักการตลาดเข้าใจวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนเหล่านี้รวมทั้งใช้มาตรการเชิงรุกในการลงทุนในแต่ละส่วน

 

แต่ละขั้นตอนมีดังนี้ :

1. ช่วงเริ่มต้น หรือ แนะนำ  ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์ใหม่เริ่มเข้ามาโปรโมทในตลาด บริษัทจะใช้งบประมาณที่เยอะมากในการสร้างการเป็นที่ยอมรับของผลิตภัณฑ์ในตลาด ดังนั้นนักการตลาดต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการเติบโตของขั้นตอนนี้ให้มาก ในการแก้ไขหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์สามารถทำได้ตามกลยุทธ์การตลาดซึ่งสามารถทำได้ในช่วงระยะแรกของขั้นนี้ก่อนที่จะมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์สู่ตลาดจริง ในขั้นนี้มีต้นทุนการสื่อสาร, ต้นทุนการมีส่วนร่วม, ต้นทุนการเข้าถึงลูกค้า ที่ล้วนแล้วมีการลงทุนที่สูงมาก ฉะนั้นบริษัทจะสร้างความคาดหวังที่สูงและยังคงต้องลงทุนเพื่อสร้างกิจกรรมทั้งหมด

 

ในมุมของผู้ซื้อ, ขั้นนี้เป็นขั้นแรกของการเห็นและยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น Apple เป็นต้น ทั้งนี้เกิดจากการตลาดของบริษัท และผู้มีอิทธิพลต่อผู้ซื้อนั่นเอง บริษัทมีการสร้างข่าวลือก่อนที่ผลิตภัณฑ์จะถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในขั้นแรกนี้ยังไม่มีการแข่งขันที่รุนแรง ดังนั้น นักการตลาดต้องมั่นใจว่าได้สร้างความต้องการให้กับผลิตภัณฑ์ ในช่วงนี้ระหว่างการทำการตลาดอาจจะใช้งบประมานที่สูงและในขณะเดียวกันปริมาณการขายอาจจะต่ำหรือชะลอการเติบโตเหตุการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นในระยะเริ่มต้น แต่นั่นไม่ได้หมายถึงการตัดสินว่าจะเป็นความล้มเหลว

 

2. ช่วงการเติบโต สามารถทำให้เป็นที่ยอมรับในตลาดได้ในที่สุด เมื่อเข้าสู่ระยะเติบโตบริษัทมีความต้องการมากขึ้นและเริ่มทำการแข่งขันที่หนักขึ้นทีมที่ดูแลด้านช่องทางการขายจะเป็นผู้ดูแลและรับปิดชอบเรื่องนี้เนื่องจากยอดขายมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน ช่วงระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่สามารถเร่งยอดขายได้เป็นอย่างดี ในระยะนี้จะมีต้นทุนที่ต่ำลงเพราะบริษัทได้มีการบริหารจัดการราคาต้นทุนต่อหน่วยให้ได้กำไรสูงสุดต่อการขายและเพิ่มปริมาณการขายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาดและทวีความรุนแรงในการแข่งขัน เพราะคู่แข่งรายใหม่สามารถเรียนรู้และสามารถเข้ามาในตลาดได้มากขึ้น

 

3. ช่วงการอิ่มตัว เป็นช่วงที่บริษัทต้องรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดที่ได้สร้างไว้ เพราะช่วงนี้จะเกิดการแข่งขันในตลาดที่มากที่สุด และธุรกิจส่วนใหญ่ต้องมีการวางแผนการลงทุนอย่างชาญฉลาด บริษัทจะต้องคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขันในขั้นนี้โอกาสที่ยอดขายน่าจะพุ่งขึ้นสูงและเป็นกราฟชัน เพราะบริษัทจะรักษาความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์ไว้ในขั้นตอนนี้แต่แลกกับผลกำไรที่ลดลง

 

4.ช่วงถดถอย เป็นช่วงที่ตลาดผลิตภัณฑ์เริ่มหดตัวและนี่คือขั้นถดถอย นั่นก็คือลูกค้าทั้งหมดได้ซื้อสินค้าไปหมดแล้ว หรือเพราะกำลังเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ไปใช้ประเภทอื่น แม้ว่าการลดลงนี้อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ยังสามารถทำกำไรได้โดยการเปลี่ยนวิธีการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเลือกตลาดที่ถูกกว่า นอกจากนี้ประสิทธิภาพด้านต้นทุนยังลดลงในระยะนี้ด้วยการเติบโตที่ช้าและปริมาณที่ลดลง

 

ตัวอย่างของวงจรผลิตภัณฑ์

 

โดยทั่วไปสมมติว่าอุปกรณ์ส่วมใส่ยอดฮิตรวมไปถึง FitBit ฯลฯ อยู่ในขั้นตอนการแนะนำสินค้าเข้าสู่ตลาด พวกเขากำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้างผลิตภัณฑ์อย่างจริงจังเพื่อเข้าไปสู่ขั้นการเติบโต เช่นเดียวกับการพิมพ์แบบ 3 มิติที่อยู่ในขั้นเริ่มต้น เราอาจจะเห็นผลิตภัณฑ์บางอย่างในช่วงการเจริญเติบโต ซึ่งรวมถึงโซลูชั่นต่างๆเช่น 4G, IPTV เป็นต้น Netflix ยังอยู่ในขั้นตอนการเติบโต ระยะเวลาที่ครบกำหนดน่าจะมีจำนวนผลิตภัณฑ์สูงสุดเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวที่สุดของทั้งหมด และเกือบทุกผลิตภัณฑ์ในการที่เราได้บริโภคมาเป็นเวลานานอยู่ในช่วงถดถอยและขั้นอิ่มตัว ไม่ว่าจะเป็นทีวีรุ่นเก่า, จักรยาน, รถยนต์น้ำมันเชื่อเพลิง, และโทรศัพท์บ้าน

 

4 ขั้นของวัฏจักรผลิตภัณฑ์ที่นักการตลาดต้องรู้

Comments