294 week ago — ใช้เวลาอ่าน 2 นาที
วิกฤตที่เกิดขึ้นกับธุรกิจไม่ได้ส่งผลต่อธุรกิจเพียงสาขาเดียวหรือในพื้นที่เฉพาะเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ทั้งหมด ทำให้ยอดขายตกได้โดยใช้เวลาไม่นาน เมื่อเทียบกับการสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของธุรกิจที่ต้องใช้เวลานานกว่ากันมาก
ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากพนักงานเพียงไม่กี่คนหรืออาจกิดขึ้นจากผู้บริหารเองก็เป็นไปได้ทั้งหมด เราสามารถศึกษากรณีตัวอย่างจากบริษัทใหญ่ ๆ ได้ เนื่องจาก SMEs ก็สามารถเกิดวิกฤตแบบนี้ได้เช่นเดียวกัน คำแนะนำต่อไปนี้คือแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
แสดงให้เห็นถึงการยอมรับผิดและขอโทษต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการขอโทษไม่จำเป็นต้องรอให้นักข่าวหรือมีสื่อมาขอสัมภาษณ์หรือมีตัวกลางเพื่อช่วยสื่อสารให้ เพราะในปัจจุบันเรามีโซเชียลเป็นสื่อกลางที่สามารถเข้าได้ถึงทุกคนในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้การประกาศหรือแถลงการณ์เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว
รับผิดชอบต่อปัญหา โดยการออกมารับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่คนในองค์กรได้ทำผิดไว้ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
กำหนดเวลาในการแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด เมื่อปัญหาเกิดขึ้นต้องมีการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด เพื่อให้ผู้บริโภคเชื่อใจและสร้างภาพชักษณ์ที่ดีให้ได้มากที่สุด
เราสามารถเรียนรู้ปัญหาต่าง ๆ ของบริษัทใหญ่ ๆ ซึ่ง SMEs สามารถใช้เป็นตัวอย่างเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบริหารและการดูแลงาน เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นต้องมีการวางแผนแก้ไขอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำเดิม
ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำลายชื่อเสียงและทำให้ยอดขายตกได้ภายในข้ามคืน หรืออาจต้องหยุดให้บริการไปเลยก็อาจะเป็นได้ ดังนั้น การป้องกันและการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แม้แต่การทำ PR ต่าง ๆ ที่ทำผ่านทางโซเชียลมีเดียอาจเป็นดาบสองคมที่ก็ควรต้องให้ความระมัดระวังด้วยอีกเช่นกัน
คอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไร ส่งผลกับโลกของเรายังไง?
255 week ago
มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism
255 week ago
Most read this week
Trending
Comments
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion