339 week ago — ใช้เวลาอ่าน 7 นาที
การที่คนเราจะลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างหนึ่ง จะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ดี “ธุรกิจเอสเอ็มอี” ก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ต้องอาศัยการวางแผนที่ดีจึงจะทำให้ประสบความสำเร็จเช่นกัน ในปัจจุบันการลงทุนในธุรกิจเอสเอ็มอี ถือเป็นที่นิยมกันมากให้เหล่านักลงทุน ซึ่งธุรกิจแบบแฟรนไชส์ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบธุรกิจที่น่าลงทุนมาก เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อแฟรนไชส์แล้วสามารถทำธุรกิจได้เลย
แต่การเรียนรู้เริ่มต้นทำธุรกิจของนักลงทุนมือใหม่ ต้องเริ่มจากอะไร ? ทั้งนี้ทาง SCB SME เห็นความสำคัญในส่วนนี้ จึงได้เชิญ คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ (คุณเซ็ธ) กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์แฟรนไชส์ และผู้ตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างธุรกิจอย่างไรให้กลายเป็นแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จได้โดยง่าย เพียงอาศัยหลักการเพียงไม่กี่ข้อ
Hi-light
เรียนรู้และเข้าใจธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมืออาชีพ
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นช่องทางการทำธุรกิจอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธุรกิจตามระบบแฟรนไชส์ ที่กำหนดโดยเจ้าของแฟรนไชส์เอง โดยเจ้าของแฟรนไชส์จะให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการให้ใช้เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ข้อมูลลับ และทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของแฟรนไชส์ ทั้งนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์นั่นจะต้องเป็นธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถทำกำไรได้ และคืนทุนได้ ต้องสามารถพิสูจน์ได้ด้วยในตัวของธุรกิจนั้นๆ เอง ซึ่งที่จะพิสูจน์ได้จะต้องมีความสำคัญ มีอยู่ 3 เรื่อง คือ
ทั้ง 3 สิ่งนี้ เป็นตัวจุดเริ่มต้นว่า เราพร้อมที่จะขยายในระบบแฟรนไชส์หรือไม่ ซึ่งตัวธุรกิจของท่านจะต้องคิดให้ถูกว่าพร้อมในเรื่องพวกนี้แล้วหรือยัง ทุกอย่างจะต้องมีระยะเวลาของตัวเอง ซึ่งระยะเวลาจะเป็นตัวพิสูจน์ดัง 3 ข้อที่กล่าวมานั้น เมื่อเรามีความมั่นใจแล้วว่าที่จะขยายแฟรนไชส์ ต่อไป และหลังจากนี้ไปคือ การเตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเป็น การเตรียมเอกสาร เตรียมระบบงาน เพื่อบริหารการจัดการ และขายแฟรนไชส์ได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยมีการเตรียมความพร้อมดังนี้
สิ่งที่เจ้าของแฟรนไชส์จะได้รับในการเปิดสาขานั้น คือ สามารถสรุปเงินลงทุนในการเปิดสาขา 1 สาขา ในเงินลงทุนนี้จะรวมไปถึง ค่าก่อสร้าง ค่าตกแต่ง ค่าปรับปรุงร้าน ค่ามัดจำ ค่าเช่าต่างๆ เงินทุนหมุนเวียนของสาขานั้นๆ รวมไปถึงค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (ค่าธรรมเนียมตัวนี้คือ ค่าที่ แฟรนไชร์ซอเรียกเก็บเรียกเก็บจากแฟรนไซส์ซี)
ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ เหมือนการเรียกเก็บค่าแรกเข้าที่แฟรนไชส์จะจ่ายเข้ามาเพื่อได้สิทธิ์แฟรนไชส์ของเจ้าของ สิทธิ์เหล่านี้ได้แก่ การความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำงานต่างๆ การบริหารจัดการเพื่อดูแลแฟรนไชส์ซีให้เป็นไปตามระบบของเจ้าของแฟรนไชส์ ดังนั้นเมื่อส่งสาขาไปแล้ว ต้องสามารถคำนวนงบกำไรขาดทุนได้ด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมในแฟรนไชส์ซีมีการทำงานและได้รายได้ตามเป้าหมาย
ข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์
1.สิทธิเกี่ยวกับการถ่ายทอดระบบงาน กรรมวิธีการผลิตต่าง ๆ โดยจะได้รับคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ได้รับสิทธิและความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ประโยชน์จากการจดทะเบียนการค้า ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า ความลับเกี่ยวกับกรรมวิธี และสูตรการผลิตต่าง ๆ ทางการค้า การขอเป็นสถานประกอบการทางด้านการศึกษา แฟรนไชซอจะเป็นผู้ขอให้กับแฟรนไชส์ซี ซึ่งสะดวกกว่าการเข้าไปขอเปิดโรงเรียนด้วยตัวเอง
2. แฟรนไชซี จะได้รับบริการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา การสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากแฟรนไชซอตัวจริงเท่านั้น ที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้นในไทยเพราะคนที่ไม่เคยทำธุรกิจมองว่า "แฟรนไชส์" ง่าย สะดวก และมีสูตรสำเร็จ
3. ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ แบรนด์ ที่ดีและเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งตรงนี้จะต้องมีความชัดเจน เนื่องจากการสร้างชื่อเสียง ภาพลักษณ์ แบรนด์ ไม่ได้สร้างโดยใช้เวลาแค่สองสามเดือน ดังนั้นถ้าแฟรนไชซอที่มีอายุการเปิดหรือประสบการณ์น้อย หมายความว่าชื่อเสียงหรือแบรนด์ของเขายังไม่แข็งแรงพอต้องระวัง
4.สะดวกในการจัดอุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุสิ้นเปลืองได้ง่าย และได้สิทธิซื้อในราคาที่ต่ำกว่า เนื่องจากร้านแฟรนไชส์ทุกร้านจะต้องมีการตกแต่งในคอนเซ็ปท์เดียวกัน แฟรนไชซอจะเป็นผู้กำหนดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุสิ้นเปลืองแบบไหน ซึ่งแฟรนไชซอสามารถซื้ออุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุสิ้นเปลืองให้กับแฟรนไชส์ซีได้ในราคาที่ถูกกว่าการที่แฟรนไชซีจะซื้อเพื่อไปเปิดสาขาของตัวเอง
5. ได้รับผลทางด้านกิจกรรมทางการตลาด โดยแฟรนไชซอที่ดีจะต้องทำกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างแบรนด์ และรักษาแบรนด์ พร้อมทั้งต้องช่วยในเรื่องของการเพิ่มยอดขายให้กับแฟรนไชซีด้วย เพราะฉะนั้นหากแฟรนไชซอที่มีการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งการทำ มาร์เก็ตติ้งฟรี และแอดเวอร์ไทซิ่งฟรี ระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นระบบการดำเนินการที่ถูกกว่าการเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง
6.การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ทั้งจำนวนเงินที่จะลงทุนเนื่องจากแฟรนไชซอจะต้องมีการกำหนดจำนวนที่แน่นอน ให้กับแฟรนไชซีแล้ว นอกจากนี้ยังไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาหลักๆ เนื่องจากเป็นระบบที่มีเทคนิค ระบบการทำงาน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แน่นอนอยู่แล้วรวมทั้งยังมีเรื่องของชื่อเสียงที่ ย่อมดีและเป็นที่ได้รับของลูกค้าอยู่แล้ว
สุดท้าย คุณเศรษฐพงศ์ มีคำแนะนำ 4 หัวใจหลักในการนำไปสู่ความสำเร็จในทำแฟรนไชส์ คือ
เพียงเท่านี้ ก็จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของท่านประสบความสำเร็จ ไม่ขาดทุน พร้อมได้เงินคืนทุนอย่างที่ตั้งใจไว้อย่างแน่นอน
ผู้สนใจสามารถติดตามกิจกรรมดี ๆจาก SCB SME ที่มีให้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ทาง https://scbsme.scb.co.th/
ค้าปลีกยุคใหม่ ปรับตัวอย่างไรให้สตรอง
339 week ago
Most read this week
Trending
Comments
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion