SMEs ลดหย่อนภาษีจุดไหนได้บ้าง

SMEs ลดหย่อนภาษีจุดไหนได้บ้าง

ภาษีและการตรวจสอบ

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

317 week ago — ใช้เวลาอ่าน 2 นาที

ก่อนอื่นเราต้องศึกษาให้เข้าใจว่าเรามีการจดทะเบียนเสียภาษีรายได้ไว้อย่างไร ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาจะมีการเสียภาษีโดยคำนวณจากรายได้ที่ได้จากการจ้างงานประจำเดือนโดยเฉลี่ยเป็นรายได้สุทธิประจำปี ที่ต้องมีมากกว่า 150,000 บาท แต่ถ้าเราจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคลหรือที่เข้าใจว่ารูปแบบบริษัท ต้องมีผลกำไรสุทธิเกินกว่า 300,000 บาทต่อปี ดังนั้น ถ้ากิจการของเรามีรายได้รวมทั้งหมดน้อยกว่า 800,000 บาทต่อปีก็สามารถดำเนินกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดาเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง แต่ถ้ามีรายได้รวมทั้งหมดมีมากกว่า 800,000 บาท ก็ควรจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทเพื่อให้เสียภาษีน้อยกว่ารายได้แบบบุคคลธรรมดา

 

การลดหย่อนภาษีของบุคคลธรรมดามีได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำประกันชีวิต ซื้อกองทุน ทำบุญบริจาค เลี้ยงดูพ่อแม่ เป็นต้น และต้องสอดคล้องกับรายได้เราอีกด้วย แต่ถ้าเราจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเราต้องหาวิธีการลดหย่อนภาษีที่ถูกต้องเพื่อช่วยให้ประหยัดรายจ่ายในกรณีที่มีกำไรสุทธิ 300,000 บาทต่อปีขึ้นไป และสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้าน (ไม่รวมที่ดิน)  มีการจ้างงานไม่เกิน 200 คน ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

 

  1. ลงบัญชีรายจ่ายของบริษัทที่ไม่เข้าข่ายเป็นการใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าทางด่วนของพนักงานส่งของ ค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่าเช่าสถานที่

  2. กำหนดรายจ่ายที่เป็นค่าเสื่อม เช่น ค่าอุปกรณ์ ค่าอาคารและโรงงาน ค่าเครื่องจักร

  3. การจ่ายเงินปันผล ถือว่าเป็นการจ่ายเงินผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นทำให้ลดภาษีได้อีกทางหนึ่ง

  4. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในนามของนิติบุคคล

  5. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  6. จ้างเด็กฝึกงานสายบัญชีเข้ามาทำงานในบริษัท ค่าใช้จ่ายนี้สามารถนำมาคิดเป็น 2 เท่าได้

  7. ใช้ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมความเป็น E-commerce ตามนโยบายของรัฐ

  8. จ้างงานคนชราที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือจ้างคนพิการที่มีบัตรคนพิการ แต่ต้องไม่เกิน 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดของบริษัท

 

แต่ไม่ว่าจะลดหย่อนภาษีแบบไหนหรือมีรายได้ที่ไม่ถึงเกณฑ์ ในฐานะผู้ประกอบการเราควรยื่นหลักฐานการเสียภาษีให้กับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจในการดำเนินกิจการและไม่มีเจตนาในการหลีกหนีภาษีที่จะนำเอาไปพัฒนาประเทศต่อไป

 

Comments