People Management

People Management

การจ้างงานและทรัพยากรบุคคล

Kamjud Surapinchai

Kamjud Surapinchai

290 week ago — ใช้เวลาอ่าน 3 นาที

โดยปกติที่เราเรียนหนังสือกันมาในเรื่องของการบริหารบุคคล เราจะได้ยินบ่อย ๆ ในเรื่องของ Put the right man on the right job ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทุกยุคทุกสมัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ภาครัฐ หรือภาครัฐวิสาหกิจ

 

ในตำแหน่ง "ผู้นำสูงสุดขององค์กร" ที่พื้นฐานของการเป็นผู้นำ ผมมองว่าทุกท่านมีคุณสมบัติเพียบพร้อมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิสัยทัศน์ เรื่องการจัดการด้านกลยุทธ์ เรื่องการบริหารบุคคลากร เรื่องการจัดการองค์กร อื่น ๆ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะขอเสนอเพิ่มเติมในประโยคที่เป็นภาษาอังกฤษอีกสัก 2 วรรค Put the right man on the right job “at the right time and in the right situation” เหตุผลที่ผมเรียนเสนอเพิ่ม at the right time in the right situation ก็เพราะว่า สถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา ความท้าทายที่องค์กรจะต้องเจอ ไม่เหมือนกัน

 

ดังนั้น ผู้นำสูงสุดขององค์กรที่มีคุณสมบัติทัดเทียมกัน แต่อาจจะมีพื้นฐาน หรือความชำนาญเฉพาะด้านที่ต่างกัน เช่น บางท่านมาทางสายงานวิศวะ บางท่านมาทางสายงานการเงิน บางท่านมาทางสายงานการตลาด เป็นต้น จึงควรจะนำมาพิจารณาในการเลือกผู้นำที่จะมาบริหารองค์กร ณ ช่วงเวลานั้นๆ ณ ช่วงสถานการณ์นั้นๆด้วย

 

ยกตัวอย่างเช่น ณ เวลานั้น องค์กรมีความท้าทายเป็น Priority เรื่องต้นๆ คือ เรื่องของการเพิ่มผลผลิตจากโรงงาน เราอาจจะต้องเอา CEO ที่มีความรู้ ความชำนาญด้านโรงงานเข้ามาบริหาร ซึ่งจะทำให้การทำงานเร็วขึ้น เมื่อผู้จัดการโรงงานมานำเสนอ idea project หรือขอคำแนะนำ ก็จะรวดเร็วมากขึ้น ไม่ต้องมานั่งอธิบายความเป็นมาเป็นไป หรือถ้าช่วงนั้น

 

ความท้าทายในเรื่องแรก ๆ คือ การตลาด ก็ หา CEO ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดมาบริหาร เป็นต้น สิ่งที่สำคัญก็คือว่า เราจะต้องประเมินให้ได้ว่า องค์กรของเรา ณ ขณะนั้นและอีก 3-5 ปีข้างหน้า อะไรเป็นความท้าทายลำดับแรก ที่เราต้องแก้ให้ได้ มิเช่นนั้น องค์กรอาจจะมีปัญหา

 

ผมก็เลยกลับมาคิดถึงเรื่องของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นเสมือนหนึ่งองค์กรขนาดใหญ่ แน่นอนครับว่า ผู้นำสูงสุดของประเทศไทยที่ต่างคนต่างเสนอตัวกันมา ย่อมมีพื้นฐานการบริหารที่น่าจะพอ ๆ กัน มีแขนขวา แขนซ้ายและลูกทีมที่เก่งเฉพาะด้านเหมือน ๆ กัน

 

แต่ถ้าเรารู้ว่า ประเทศไทย อะไร คือ ความท้าทายเป็น Priority แรก ๆ ที่เราอยากจะปรับปรุงทำให้ดีขึ้นมาก ๆ ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เราก็น่าจะมีแนวทางในการเลือกผู้นำ เลือกพรรค เช่น ถ้าประเทศไทยมีความท้าทายในลำดับต้น ๆ คือ ความมั่นคง ก็เลือกพรรค ที่เราเห็นว่า ถ้าคน ๆ นี้ พรรคนี้ มาเป็นผู้นำ เรื่องความมั่นคง ไม่น่าจะมีปัญหา

 

หรือถ้าเป็นเรื่องของการลงทุน ก็เลือก พรรคและผู้นำคนนั้น หรือถ้า priority เป็นเรื่องของการกระจายรายได้ช่วยเหลือ ผปก ระดับ SME ก็เลือกพรรค และผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้ หรือ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านอื่น ๆ เป็นต้น ก็เป็นอีกแนวความคิดที่ผมอยากจะเรียนเสนอจากที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน นอกเหนือจากแนวความคิดการเลือกข้าง เผด็จการ หรือประชาธิปไตย หรือการต่อท่ออำนาจ กับไม่ต่อท่ออำนาจ

 

สิ่งที่เราน่าจะ concern ควรจะเป็นเรื่องของในอนาคต ว่าเราต้องการเห็นอะไรที่มันดีขึ้นเป็นลำดับแรก ๆ ของประเทศอันเป็นที่รักของเรา เลยขออนุญาตเพิ่มอีกสัก 1 วรรคในภาษาอังกฤษ Put the right man on the right job at right time and in the right situation “for Our Lovely Thailand"

 

Comments

บทความอื่น ๆ ที่เขียนโดย Kamjud Surapinchai

ดูทั้งหมด