319 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที
เมื่อพูดถึงการเติบโตของธุรกิจ Startup ในปัจจุบัน มีแนวโน้มว่าจะสูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ธุรกิจ Startup ที่ประสบความสำเร็จนั้นกลับมีเพียง 10% เท่านั้น ขณะที่ 90% ต้องพบเจอกับความล้มเหลว โดยสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจ Startup ล้มเหลวนั้นอาจเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้
1. สร้างธุรกิจที่ไม่ใช่ความต้องการของตลาด
ธุรกิจ Startup หลายราย ถูกสร้างขึ้นจากปัญหาหรือความต้องการของตนเอง ซึ่งบางปัญหาอาจแก้ไขไม่ถูกทาง หรืออาจไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนต้องการ โดยเราจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าทำไปเพื่ออะไร มีประโยชน์ต่อใครบ้าง
2. ขาดการวางแผน
การวางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ จะเป็นตัวกำหนดเป้าหมายขององค์กร และฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด อันนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร แม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจดูเหมือนสิ่งไม่จำเป็น แต่สิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบพื้นฐานในการเริ่มทำธุรกิจ หากคุณบกพร่องจุดนี้ อาจกลายเป็นจุดอ่อนและเผยออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้การทำงานของคุณไร้ประสิทธิภาพและประสบความล้มเหลวในที่สุด
3. มองข้ามความสำคัญของข้อมูล
การทำ Research ข้อมูลจะช่วยทำให้การวางแผนงานสมบูรณ์มากขึ้น เพราะเราสามารถนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมไปถึงข้อมูลประวัติการดำเนินงานย้อนหลัง ก็สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจ หรือแก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ ในธุรกิจของเราได้ด้วยเช่นกัน
4. ใช้เงินทุนมากเกินไป
หลายครั้งที่ Startup ต้องประสบความล้มเหลว เนื่องจากการใช้เงินในการลงทุนมากเกินไป การบริหารเงินไม่เป็นสัดส่วน ไม่แยกออกจากกันให้ชัดเจนระหว่างบัญชีธุรกิจหรือบัญชีส่วนตัว รวมไปถึงการใช้เงินลงทุนไปกับสิ่งใช้สอยที่ไม่จำเป็น ทำให้แทนที่จะมีรายได้เป็นผลกำไรจากเงินทุนเข้ามา กลับต้องสูญเสียเงินทุนไปอย่างสิ้นเปลือง
5. มุ่งตามหานายทุน แต่ไม่มุ่งลูกค้า
เนื่องจาก Startup มักมุ่งเน้นทางการหาเงินอัดฉีดจาก VC ทำให้หลายคนเริ่มหายใจเข้าออกเป็นเรื่องของการเตรียม Pitching เพื่อให้ได้รับเงินทุนอัดฉีดเพิ่มขึ้น ซึ่งเราอาจลืมไปว่ารายได้จริงๆ ของธุรกิจมาจากลูกค้าไม่ใช่นานทุน โดยเราสามารถมองหาทั้งนายทุนและลูกค้าได้ไปพร้อม ๆ กัน
6. เข้าใจว่าเงินแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
จริงอยู่ว่า “เงิน” สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ใช่ทุกอย่างที่เงินจะสามารถแก้ไขได้ Startup หลายรายที่มุ่งเน้นไปด้านการหาเงินเพียงอย่างเดียว เพราะเข้าใจว่า เมื่อมีเงินแล้วจะสามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่จงอย่าลืมว่า “การบริหาร” สำคัญพอ ๆ กับ “เงิน” ในการทำธุรกิจ เช่นนั้น หากพบปัญหาติดขัดส่วนใด เราจะต้องบริหารงานและเงิน ควบคู่กันไป
7. ไม่สนใจเรื่องการตลาด
“การตลาด” เป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจในปัจจุบัน การทำการตลาดจะช่วยสร้างโอกาสให้กับ Startup ได้มากกว่า ทั้งในด้านของภาพลักษณ์และผลิตภัณฑ์ แม้ว่าธุรกิจจะสร้างจากไอเดียความคิดที่ดี แต่ละเลยการทำการตลาด ก็ส่งผลเสียให้กับธุรกิจได้อยู่ไม่น้อยเลย
8. เพิกเฉยต่อกิจกรรมในโซเชียลมีเดีย
อยู่ในยุคแห่งโซเชียล ก็ต้องเล่นโซเชียล หากเราเพิกเฉยต่อการเล่นโซเชียล นอกจากจะตกข่าวสารแล้ว ยังทำให้เราตามไม่ทันเทรนด์หรือกระแสของโลกอีกด้วย ยิ่งแล้วกับการทำธุรกิจ จำเป็นต้องใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, YouTube หรือ Website ต่าง ๆ ในการช่วยกระจายข่าวสารและชื่อเสียงของธุรกิจ เพื่อสร้างความเข้าใจและความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์และองค์กร รวมไปถึงการสร้างรายได้จากยอดขายด้วย
9. อยากสร้างของที่ดีเกินไป
นักธุรกิจหลายคนมุ่งเน้นที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ให้ออกมาดีตามแบบฉบับของตน แต่บางครั้งอาจใช้เวลาพัฒนาเป็นเวลานาน และยังไม่สามารถออกผลผลิตมาเป็นรูปร่างจริง ๆ ได้ อาจทำให้เราเสียโอกาสในการส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้ เช่น มีคนทำตัดหน้าไป หรือหมดเงินทุนไปกับการพัฒนา เพราะไม่มีกำไรมาชดเชยส่วนที่เสียไป
10. จ้างพนักงานที่ขาดศักยภาพเข้ามาทำงาน
การจ้างคนทำงานไม่ใช่ใครก็สามารถทำงานได้ สำหรับบางคนอาจเป็นคนที่มีประสิทธิภาพ แต่ไม่มีศักยภาพหรือความรู้ในการทำงานประเภทนั้น ๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจได้มากกว่าผลดี แต่หากจ้างคนทำงานได้ตรงกับสายงาน มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน ก็จะยิ่งทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้รวดเร็วมากขึ้น
คอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไร ส่งผลกับโลกของเรายังไง?
255 week ago
มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism
255 week ago
Most read this week
Trending
Comments (1)
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion