270 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที
คำกล่าวที่ว่า Content is the King หรือ คอนเทนต์คือหัวใจที่สำคัญในการทำการตลาด นั้นยังเป็นความจริงเสมอ สังเกตได้จากในช่วงที่ผ่านมาหลายแบรนด์ใหญ่ในทุกประเภทธุรกิจ ต่างทำคอนเทนต์ในช่องทาง Social Media ต่าง ๆ ของตัวเองทั้งแพลตฟอร์ม Facebook, Instagram และ Twitter ตัวอย่างเช่น Major Group, Tops Thailand และ Ocean Life - ไทยสมุทรประกันชีวิต เป็นต้น รวมไปถึงธุรกิจน้อยใหญ่อีกมากมาย ตัวอย่างประเภทคอนเทนต์ที่ทำ:
คอนเทนต์ให้ข้อมูล - การให้ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์, สินค้า และบริการ ร่วมไปถึงเทศกาลและวันสำคัญต่างๆ เช่น วันแม่, วันปีใหม่ และเทศกาลตรุษจีน เป็นต้น
คอนเทนต์กิจกรรม - ใช้ผู้ติดตามเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การร่วมสนุกในเกมและกิจกรรม เพื่อรับของรางวัล เป็นการสร้างคามสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามกับแบรนด์
คอนเทนต์โปรโมชั่น - เพื่อให้ผู้ติดตามรับรู้ถึงโปรโมชั่นที่ทางแบรนด์มี และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ติดตามซื้อสินค้าและบริการ
การที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จบนแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ นอกจากการสร้างคอนเทนต์ที่ดีขึ้นมาแล้วนั้น ยังต้องทำคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์มที่เราจะนำไปลงด้วย โดยดูจากเนเจอร์ของแพลตฟอร์มนั้นและกลุ่มเป้าหมายของแพลตฟอร์มนั้นๆ เพราะไม่ใช่ว่าคอนเทนต์ที่เราทำขึ้นมาจะเหมาะกับทุกแพลตฟอร์ม
หลักการเบื้องต้นในการ เลือก Content ให้เหมาะสมกับช่องทาง Social Media
1. เลือกกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะสื่อสาร
ก่อนที่เราจะเริ่มทำคอนเทนต์ออกไปสักอัน เราต้องรู้ก่อนว่าจุดประสงค์ในการทำคอนเทนต์ของเราคืออะไร ตัวอย่างเช่น เพื่อให้ข้อมูล, เพื่อขายสินค้า หรือเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาร่วมกิจกรรม หลังจากที่เรารู้จุดประสงค์แล้ว เราก็ต้องมาคิดว่าคนกลุ่มไหน, อายุเท่าไหร่, ใช้ Social Media ไหนเป็นหลัก เพื่อที่จะสามารถสร้างคอนเทนต์ออกไปให้เหมาะสม
2. สร้างรูปแบบคอนเทนต์ที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย
เมื่อเรารู้จุดประสงค์ของการทำคอนเทนต์ และกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะสื่อสารแล้ว เราก็มาสร้างรูปแบบคอนเทนต์ที่เหมาะสม เช่น Live วิดีโอ, วิดีโอ, บทความ, แบนเนอร์เดี่ยว, ภาพถ่าย และคำคม เป็นต้น โดยดูว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเสพย์คอนเทนต์รูปแบบไหนเป็นหลัก
3. นำไปลงบนแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ
การเลือก Social Media แพลตฟอร์มต่างๆ ที่จะนำคอนเทนต์ไปลง สามารถพิจารณาได้จากรูปแบบคอนเทนต์และกลุ่มเป้าหมายว่าอยู่ในช่องทางไหนเป็นหลัก เช่น
แพลตฟอร์ม Facebook เหมาะกับ คอนเทนต์ที่เป็นวิดีโอ, Live วิดีโอ, ในรูปแบบของ Meme, บทความจากบล็อค และการแชร์คอนเทนต์จากเว็บไซต์หรือเพจอื่นๆ
แพลตฟอร์ม Instagram เหมาะกับ ภาพถ่าย, แบนเนอร์เดี่ยว, คำคมต่างๆ ในรูปแบบของ Meme และ IG Stories
แพลตฟอร์ม Twitter เหมาะกับ ข่าว, บทความจากบล็อค, คำคมต่างๆ ให้คนรีทวีต และ GIFs รวมไปถึง Real Time คอนเทนต์ที่กำลังเป็นประเด็นและมีแฮชแท็กที่คนกำลังติดตาม
4. วัดผลของคอนเทนต์ที่ลงไปบนแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ
เมื่อเราลงคอนเทนต์ไปแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการวัดผล เช่น บน Facebook เราสามารถดูจากจำนวนยอดไลค์ คอมเมนต์ แชร์ และ ยอด Reach จากหน้าหลังบ้านของ Facebook ได้, Instagram ดูจากยอดไลค์ หรือคอมเมนต์ และ Twitter ดูจากจำนวนการรีทวีต และแท็กเพื่อน เป็นต้น เพื่อให้เรารู้ว่าคอนเทนต์ที่ทำออกมาได้ผลแค่ไหน และสามารถสร้างคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพดีได้ขึ้นในอนาคต
คอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไร ส่งผลกับโลกของเรายังไง?
249 week ago
มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism
249 week ago
Most read this week
Trending
Comments
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion