เครื่องหมายการค้าสามารถครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่?

เครื่องหมายการค้าสามารถครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่?

กฎหมายและการกำกับควบคุม

Tanabordee Rakklang

Tanabordee Rakklang

255 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

 เครื่องหมายการค้าสามารถครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่?

 

    สำหรับการทำธุรกิจการค้าในปัจจุบันนี้ เครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค้าทางการตลาดอย่างสูง เพราะเป็นภาพลักษณ์และการให้บริการรวมถึงคุณภาพของสินค้าที่สำคัญเป็นความน่าเชื่อถือของ"ลูกค้า" ด้วย เมื่อมีผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้นำเครื่องหมายการค้าไปใช้ โดยเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยหรือไม่ยอมคืนสิทธิทางเครื่องหมายการค้าตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ เมื่อคดีมีการฟ้องร้องต่อศาลปรากฎว่าผู้ประกอบการดังกล่าวกับอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าด้วยการครอบบครองปรปักษ์ตามกฎหมายแล้ว ถ้าเราเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจะทำอย่างไรดี ?

เอาเป็นว่าผมพอมีคำตอบครับ เนื่องจากศาลฎีกาได้เคยมีคำวินิจฉัยไว้ในฎีกาที่ 9544/2542 ว่า" เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ไม่มีรูปร่าง ทั้งไม่อาจยึดถือครอบครองได้อย่างทรัพย์สินทั่วไปดังทีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สินการที่จำเลย นำเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า PEAK และ PEAK  กับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขาของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ แม้เป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ได้ บทบัญญัติว่าด้วยการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาอาจนำมาใช้บังคับแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ไม่

โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโดยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยในลักษณะลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงคาดคะเนว่าจำเลยกระทำดังนั้นผลเสียจะตกแก่โจทก์อย่างไร จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้นำสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยได้เอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเป็นการละเมิดต่อโจทก์จึงเป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในฟ้อง 

โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า PEAK  และ PEAK กับรูปประดิษฐ์คลา้ยภูเขา แต่โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้เฉพาะในกรณีที่จำเลยได้นำสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงกรณีเดียวเท่านั้น

คงสบายใจกันแล้วใช่หรือไม่ครับศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เครื่องหมายการค้าได้ครับ แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้ประกอบการได้ต้องสอดส่องดูแลผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่ฉกฉวยโอกาสนำเครื่องหมายการค้าไปแอบอ้างหรือใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเสียหายในทางธุรกิจได้

 

                                                                                                                           T.rakklang

                                                                                                                         สินเนรมิตทนายความ

Comments (1)

โพสต์โดย

Tanabordee Tanabordee Rakklang

บริการให้คำปรึกษากฎหมาย และเป็นทนายความแก้ต่างหรือว่าต่างในคดีแพ่งหรือคดีอาญาต่อศาลทั่วราชอาณาจักรไทย บริการด้านกฎหมายอื่นๆ โทร 0817217900 (ช่วงเวลา 08.30 -17.00 น.) 0614796354...