วิธีสร้าง Culture of Innovation ในที่ทำงาน

วิธีสร้าง Culture of Innovation ในที่ทำงาน

การพัฒนาธุรกิจ

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

273 week ago — ใช้เวลาอ่าน 5 นาที

 

คุณคงเคยได้ยินคำว่า "หินที่กลิ้งอยู่ย่อมไม่มีตะไคร่เกาะ" หรือเข้าใจง่าย ๆ ก็คือคนที่ไม่หยุดวิ่งย่อมไม่มีวันล้าหลัง ในทำนองเดียวกันธุรกิจสามารถเจริญเติบโตและประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องแม้อยู่ในสนามแข่งที่ดุเดือด ขอเพียงแต่พวกเขาไม่หยุดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมคือหัวใจหลัก และหากไม่มีนวัตกรรมนั่นแปลว่าธุรกิจจะต้องเผชิญกับวันโลกาวินาศไม่ช้าก็เร็ว ในฐานะเจ้าของธุรกิจคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคุณได้สนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในแง่ของนวัตกรรมแล้ว?

 

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่านวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำขององค์กร ในการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก กุญแจสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมก็ต้องเริ่มต้นจากคุณสมบัติความเป็นผู้นำของคุณเอง 

 

นี่คือเคล็ดลับในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมเรื่องของนวัตกรรมในองค์กร:

 

1. รับผิดชอบ

 

เรามักเข้าใจว่านวัตกรรมนั้นเป็นความรับผิดชอบของทีม R&D หรือทีมการตลาดแต่เพียงผู้เดียว แต่ในฐานะเจ้าขององค์กรแห่งนั้น จริง ๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับคุณที่จะส่งต่อความคิดในแง่ของการริเริ่มที่ทำให้คุณก่อตั้งบริษัทนี้ตั้งแต่เริ่มแรกหรือไม่ การกระตุ้นให้สมาชิกในทีมเปิดรับนวัตกรรม และนอกเหนือไปจากการทำงานประจำแล้ว ควรส่งเสริมในเกิดวัฒนธรรมที่ให้พวกเขาช่วยกันระดมความคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งบริษัทและตัวบุคคล ผลักดันพนักงานของคุณรู้จักคิดนอกกรอบและสนับสนุนให้ทำตามแนวคิดที่เป็นแรงบันดาลใจของพวกเขา

 

2. สร้างทีมที่เป็นนวัตกรรม

 

พนักงานของคุณคือหน่วยหนึ่งใจากการสร้างของบริษัท และการจ้างทีมที่เหมาะสมสามารถขับเคลื่อนบริษัทของคุณไปสู่อนาคตที่สดใสได้ หากคุณต้องการสร้างวัฒนธรรมของนวัตกรรมในที่ทำงานแล้วละก็ สิ่งสำคัญคือการจ้างคนที่มีคุณสมบัติพื้นฐานที่แตกต่างกัน การทำงานกับผู้คนที่มีพื้นฐานที่หลากหลายจะนำไปสู่ความคิดและนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยม ซึ่งจะเหมาะสมกับผู้บริโภคที่หลากหลาย คุณสามารถลองทำในสิ่งที่บริษัทใหญ่ ๆ หลายแห่งปฏิบัติอยู่:

 

  • หลัก 20% Time - เริ่มต้นโดย Google ที่อนุญาตให้พนักงานทุกคนใช้เวลา 20% ของการทำงานในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

  • Hackathon - แนวคิดที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมนวัตกรรม การรวมทีมที่มีความแตกต่างกันเพื่อทำโครงการที่น่าสนใจ วิธีนี้สามารถกระจายการเรียนรู้แบบข้ามแผนกได้

  • การให้หยุดงาน - เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อทำงานหนัก คุณควรอนุญาตให้พนักงานหยุดทำงานเพื่อให้เขาได้โฟกัสไปที่ตัวเองบ้าง และเมื่อถึงเวลากลับมาทำงานพวกเขาก็จะรู้สึกสดชื่นและพร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

 

สร้างวัฒนธรรมที่พนักงานสามารถพึ่งพาและไว้วางใจให้สมาชิกในทีมทำงานให้สำเร็จในกรณีฉุกเฉิน ควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและมีโครงสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานอยากทำงานหนักขึ้นได้

 

3. อย่าลงโทษความล้มเหลว

 

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าในธุรกิจนั้น ความล้มเหลวนั้นมันโอเคไม่เป็นปัญหา คุณจะสร้างสรรค์ไม่ได้หากคุณไม่รู้จักการล้มเหลว มันต้องมีการผิดพลาดและการทดลองอยู่หลายครั้งเพื่อเจอะจุดที่ลงตัว ดังนั้นแทนที่จะโทษว่าใครผิดหรือถูกในการทดลองที่ล้มเหลว ลองสนับสนุนและให้กำลังใจพวกเขาให้พยายามมากขึ้นจนกว่าจะสำเร็จ สิ่งนี้จะไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมในแง่ของนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในที่ทำงาน แต่ยังจะช่วยให้คุณสร้างทีมที่แข็งแกร่งที่จะเคารพคุณและเติบโตไปพร้อมกัน

 

4. สร้างสภาพแวดล้อมของการสื่อสารแบบเปิดกว้าง

 

ยกเว้นแต่ว่าพนักงานของคุณกำลังสื่อสารกันเอง นอกจากนั้นพวกเขาก็ยึดติดอยู่แต่กับงานที่ทำอยู่อย่างนั้น และจะไม่มีวันเข้าใจเรื่องของนวัตกรรมมากนัก ควรกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสื่อสารที่เป็นประโยชน์และเปิดกว้าง โดยสามารถแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์

 

5. ให้เวลากับพนักงาน

 

ความเครียดในที่ทำงานเพิ่มขึ้นทุกวันซึ่งทำให้พนักงานรู้สึกกังวลตลอดเวลา เป็นเรื่องธรรมดามากกับการที่ต้องทำงานหนักและมีงานล้นมือ แต่การที่ต้องเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้คือเหตุผลหลักในแง่ของการที่ขาดนวัตกรรมก็สำคัญเช่นกัน

 

ให้พนักงานของคุณมีความยืดหยุ่นในการทำงานตามที่ต้องการ ให้เวลาพวกเขาได้คิดค้นและดำเนินการตามความคิดก่อนที่จะกำหนดเส้นตายหรือไล่พวกเขาออก! ลองพิจารณาเวลาในการทำงานที่ยืดหยุ่นและการทำงานที่ไม่จำเป็นต้องเข้ามาที่บริษัทเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และรักษาแพชชั่นในการทำงานของพนักงานของคุณ

 

6. เดินไปข้างหน้าไม่ใช่ด้วยความกลัว แต่ด้วยแรงจูงใจ

 

ความกลัวสามารถฆ่านวัตกรรมได้เร็วกว่าที่คุณคิด หากพนักงานของคุณไม่กล้าที่จะเปิดใจกับคุณเกี่ยวกับปัญหาของพวกเขา หรือกลัวถูกลงโทษเพราะทำงานผิดพลาด พวกเขาก็จะไม่กล้าเผชิญความเสี่ยงไปพร้อม ๆ กัน และนั่นเท่ากับคุณก็กดล้างนวัตกรรมลงท่ออย่างสูญเปล่าไปแล้ว

 

การไม่กล้าเสี่ยงนำไปสู่การทำงานแบบคุณภาพกลางๆ ไม่ค่อยดีสักแต่ว่าทำ บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะเกิดจากความปรารถนาอย่างแรงกล้า จินตนาการ และความเอาใจใส่ โดยไม่มีความกลัว

 

หากได้ทำตามเคล็ดลับที่กล่าวมาข้างต้นคุณสามารถมั่นใจได้ว่าคุณได้สร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมนวัตกรรมและผลผลิตขึ้นแล้ว

 

 

Comments (2)