279 week ago — ใช้เวลาอ่าน 5 นาที
ที่ผ่านมามีการพูดถึงเรื่องของ 5G กันมากพอสมควรเลยทีเดียว หลายคนอาจยังคงสงสัยว่าแล้ว 5G จะเข้ามามีบทบาทอะไรในชีวิตประจำวันของเราบ้าง สำหรับ 4G ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็ดูหนังฟังเพลง หรือสตรีมมิ่งต่าง ๆ ก็ได้อยู่แล้วนี่นา แล้วการมาของ 5G จะดีกว่า 4G อย่างไรบ้าง ตรงนี้ต้องบอกว่าดีกว่ามาก ดีกว่าหลายหลายเลยทีเดียว
ก่อนอื่นขออธิบายสำหรับคนที่ยังไม่เคยทราบมาก่อนว่า G นั้นย่อมาจากคำว่า Generation โดยแบ่งคร่าว ๆ เป็นยุค ๆ คือ
1G ยังเป็นยุคของโทรศัพท์มือถือแบบ Analog ขนาดโทรศัพท์ยังมีขนาดใหญ่มาก มีราคาแพง เน้นการโทรอย่างเดียว สามารถส่ง SMS ได้
2G เริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัล มีการใช้ซิมการ์ด เริ่มมีหน้าจอสี มีกล้องถ่ายภาพ สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้นิดหน่อย เริ่มมีการรับส่งข้อมูลผ่าน GPRS และ EDGE เป็นการเริ่มต้นยุคโมบายล์อินเทอร์เน็ต
3G ยุคที่สามารถทำทุกอย่างด้วยอินเทอร์เน็ตได้ สื่อสารได้ทั้งเสียงและข้อมูล ไม่ว่าจะโทร วิดีโอคอล เล่นเกม มัลติมีเดีย และอินเทอร์เน็ต เป็นยุคแรกของโมบายบรอดแบนด์)
4G พัฒนามาจาก 3G ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเร็วสูงขึ้น คุณภาพของวิดีโอหรือเกมต่าง ๆ เป็นแบบ full HD การสตรีมมิ่งก็ดีขึ้นด้วย เทคโนโลยีที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ WiMAX และ LTE เป็นโมบายบรอดแบนด์อย่างแท้จริง
5G มีการพัฒนาขีดความสามารถของเทคโนโลยีทั้งในเรื่องของความเร็วที่เสถียรขึ้นและเร็วขึ้นกว่า 4G มาก และตามไทม์ไลน์ประเทศไทยจะมีการใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2563
5G ดีกว่า 4G อย่างไรบ้าง
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารจากที่แค่สื่อสารผ่านเสียงพูดและการส่งข้อความ มาสู่การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตที่ดูได้ภาพและเสียง และในอนาคตอันใกล้นี้จะเป็นยุคของการเชื่อมต่อกับสิ่งของทุกสรรพสิ่ง ลองมาดูกันว่ายุค 5G ที่ว่าดีกว่า 4G นั้นมีอะไรบ้าง
ความเร็วในการตอบสนองเร็วขึ้นและนิ่งขึ้น เรียกว่าแทบจะในทันที ตามทฤษฎี 4G จะอยู่ที่ 10 ms (millisecond) ใช้งานจริงอาจราว 20-30 ms แต่ 5G จะเหลือน้อยกว่า 1 ms คือเร็วกว่า 10 เท่า ตัวเลขยิ่งน้อยยิ่งตอบสนองได้ดี เรียกว่าโหลดวิดีโอแทบไม่ต้องรอ
รับ-ส่งข้อมูลได้มากกว่าเดิม ปัจจุบัน 4G รับส่งข้อมูลต่อเดือนได้ 7.2 EB (Exabyte) แต่ 5G จะเพิ่มได้ถึง 7 เท่าคือราว 50 EB หรือ 5,000,000,000 GB (1 Exabyte = 100 ล้าน GB)
ความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 20 เท่า หรือสูงสุดถึง 20 Gbps (Gigabyte per second) จากเดิมที่ 4G ได้แค่ 1 Gbps
ความถี่สำหรับใช้งานเพิ่มขึ้น ยิ่งต้องการใช้ข้อมูลมาก ความถี่ก็ต้องสูงขึ้นตามไปด้วย จากเดิมที่ 4G มีให้ใช้เพียง 3GHz แต่เมื่อเป็น 5G จะสามารถใช้ความถี่เพิ่มขึ้นถึง 3.5 GHz และสูงที่สุดได้ถึง 28 GHz นั่นคือมีย่านความถี่ที่กว้างมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งดีสำหรับเรื่องของ IoT
เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้เพิ่มขึ้น จากเดิม 4G จะเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบ ๆ ได้ประมาณ 1 แสนตัว แต่เมื่อเป็น 5G จะสามารถเพิ่มอุปกรณ์เชื่อมต่อได้ถึง 10 เท่า หรือราว 1 ล้านตัว นั่นคือความหนาแน่นของการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า
ประโยชน์ของ 5G ในชีวิตประจำวัน
สามารถรับส่งข้อมูลได้แบบมหาศาล ทั้งมากขึ้นและเร็วขึ้น
เชื่อมต่อจำนวนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น
การสตรีมมิ่งหรือดึงข้อมูลจากคลาวด์ ทั้งที่เป็นมัลติมีเดียหรือกราฟิกเป็นเรื่องง่ายดาย
IoT เกิดขึ้นได้แน่นอน เพราะทุกอุปกรณ์คุยกันได้ ก้าวสู่การเป็น Smart Home, Smart City และ Mobility
ตัวอย่างที่จะได้เห็นอย่างแน่นอน เช่น
การดาวน์โหลดหรืออัพโหลดสื่อบันเทิงว่องไวรวดเร็ว ทั้งดูหนังหรือวิดีโอแบบ 4K หรือ 8K ใช้เวลาชั่วอึดใจแถมยังได้ภาพคมชัดเจน
การผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้ IoT ทำให้มีระบบอัตโนมัติ ลื่นไหลมากขึ้น มีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร การจัดการคลังสินค้า การขนส่ง การเคลื่อนย้ายตำแหน่งสินค้า ฯลฯ แม้แต่ในวงการเกษตรยังสามารถเก็บข้อมูลของดิน น้ำ ฯลฯ โดยดูข้อมูลที่ต้องการผ่านโทรศัพท์มือถือได้ทุกที่
ติดตามข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น เชื่อมต่ออุปกรณ์ติดตามการเต้นของหัวใจหรือความดันเมื่อผู้ป่วยมีความเสี่ยงหรืออันตราย ก็จะมีการส่งข้อมูลไปแจ้งให้แพทย์ หรือโรงพยาบาลทราบได้
สาธารณูปโภคอย่างโครงข่ายไฟฟ้า มิเตอร์อัจฉริยะที่คำนวณการจ่ายไฟฟ้า คิดราคา และแจ้งยอดแก่ผู้ใช้ได้โดยที่พนักงานไม่ต้องออกไปจดเลขมิเตอร์แบบเดิม ช่วยลดเรื่องของเวลาและแรงงานคน
รถยนต์ไร้คนขับ เพราะความรวดเร็วของการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วมาก ทำให้รถยนต์สามารถสื่อสารกับไฟจราจรได้ และยังใช้ส่งข้อมูลกับรถไฟฟ้าหรือรถโดยสารสาธารณะได้
เมืองอัจฉริยะ จะกลายเป็นจริงได้อย่างแน่นอน ทั้งการจัดการขยะ การจัดการน้ำท่วม ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ การจราจร การรักษาความปลอดภัย ฯลฯ
คอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไร ส่งผลกับโลกของเรายังไง?
252 week ago
มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism
252 week ago
Most read this week
Trending
Comments
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion