295 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที
คงต้องยอมรับว่าหลายคนเริ่มที่จะหวั่นวิตกกับความจริงที่ว่า AI กำลังจะเข้ามาแย่งงานของมนุษย์ได้จริงหรือ? สายงานหลาย ๆ สายได้ถูก AI เข้ามาแทนที่หรือ disrupt ไปแล้วจำนวนไม่น้อย แต่ในความเป็นจริง AI ก็ไม่ได้ฉลาดไปเสียทั้งหมด ยังคงมีทักษะบางอย่างที่ยังจำเป็นต้องใช้มนุษย์เข้ามาจัดการ มีทักษะอะไรบ้างที่ AI ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่มนุษย์อย่างเรา ๆ ได้
1. ทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative) บางทีเราก็ต้องยอมรับว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นมักเกิดจากการต้องคิดนอกกรอบให้เป็นเสียก่อน มนุษย์นั้นมีวิธีการคิดที่สามารถยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์หรือบริบทแวดล้อมได้ดีกว่า AI มาก สมองของมนุษย์นั้นมีกระบวนการคิดที่ซับซ้อนและลึกซึ้งอย่างน่าอัศจรรย์
แต่สำหรับการทำงานของหุ่นยนต์หรือ AI นั้นเกิดจากการป้อนข้อมูลที่เป็นรูปแบบหรือมีกรอบทางความคิดที่เป็นระบบ แม้ว่า AI จะสามารถประมวลผลหรือวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้อย่างแม่ยำเหนือกว่ามนุษย์ก็ตาม แต่สิ่งที่ AI ยังไม่สามารถก้าวไปถึงก็คือการคิดสร้างสรรค์หรือคิดนอกกรอบแบบที่มนุษย์ทำ
แม้ว่าทุกวันนี้ AI จะสามารถทำงานบางอย่างได้ เช่น เปลี่ยนภาพถ่ายให้กลายเป็นภาพวาด แต่จะถือว่าภาพนั้นเป็นศิลปะได้หรือไม่เพราะเกิดจากการสร้างอัลกอริทึมเพื่อฝึกให้ AI รู้จักการสร้างภาพเหล่านั้นขึ้นมา หรือการเขียนข่าว แต่งเพลง หรือเขียนนิยายของ AI ซึ่งความสามารถในการพลิกแพลงการใช้ภาษาที่ลึกซึ้งหรือที่เราเรียกว่าสำบัดสำนวนที่จะไปกระทบต่อความรู้สึกหรือเกิดสุนทรียภาพได้นั้นน่าจะยังไปไม่ถึง หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการตัดสินคดีความที่ต้องใช้วิจารณญาณของผู้พิพากษา
2. ทักษะทางด้านสังคม (Social Skills) หรือทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์กันผู้อื่น การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น การเข้าใจในการสื่อสารในเชิงลึก การเข้าใจอารมณ์ที่ซับซ้อนของมนุษย์ ฯลฯ ทักษะทางด้านสังคมนี้เป็นทักษะที่มีการนำทักษะเรื่องของอารมณ์เข้ามาร่วมด้วย มีการคาดการณ์ว่าในอนาคตการทำงานนั้นจะต้องมีการนำเรื่องของทักษะทางด้านสังคมเข้ามาใช้มากกว่าในปัจจุบันนี้อีกถึง 24%
AI สามารถสื่อสารและทำงานกับเทคโนโลยีด้วยกันได้เป็นอย่างดี แต่ยังด้อยในเรื่องการสื่อสารแบบเข้าใจกับมนุษย์อย่างแท้จริง ในบางสายงาน AI จึงยังเข้าไปแทนที่ไม่ได้ทั้งหมด เช่น สายงานทางด้านการดูแลผู้ป่วย แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีด้านการรักษาหรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพียงใด แต่การเข้าอกเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยก็ยังคงต้องพึ่งแพทย์และพยาบาลอยู่ดี
นอกจากนี้ในเรื่องของการทำงานเป็นทีม การขอความร่วมมือ การให้กำลังใจ การโน้มน้าวจิตใจทีมงานให้ทุ่มแรงกายแรงใจในการทำงานให้สำเร็จ ก็จำเป็นต้องอาศัยทักษะทางด้านสังคม รวมถึงการปรับตัวยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแบบในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เปลี่ยนไปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนซึ่ง AI ก็จำเป็นต้องอาศัยการป้อนข้อมูลเพื่อหาโซลูชันในการแก้ปัญหาเสียก่อน
3. ทักษะทางด้านอารมณ์และความรู้สึก (Emotional and Sense Skills) แน่นอนว่า AI ยังคงไม่สามารถที่จะมีอารมณ์ที่ลึกซึ้งและซับซ้อน หรือเข้าใจความรู้สึกจากประสาทสัมผัสได้เหมือนกับมนุษย์ อารมณ์ของมนุษย์มีหลากหลายและสลับไปมา แม้แต่มนุษย์ด้วยกันยังตามไม่ทัน AI ยังคงต้องมีการพัฒนาอีกมาก อีกทั้งการบ่งบอกความรู้สึกของมนุษย์เป็นเรื่องที่ยากจะกำหนดหรืออธิบายได้แน่ชัด เช่นเรื่องของ ความชอบมากชอบน้อย สิ่งไหนดีที่สุดสำหรับใคร เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเป็นปัจเจกบุคคลอย่างมาก หาก AI พัฒนาในเรื่องนี้ได้เมื่อไหร่อาจเข้าใกล้ความเป็นมนุษย์มากขึ้นก็ได้
นอกจากทักษะสำคัญทั้งสามอย่างนี้แล้ว ทักษะบางอย่างยังจำเป็นต้องใช้หลาย ๆ ทักษะมารวมกัน เช่น ทักษะในการจัดการ การบริหาร การโน้มน้าวจิตใจ ฯลฯ ซึ่งดูว่า AI ยังคงต้องมีการพัฒนาอีกมาก ดังนั้นอาจยังสบายใจได้ว่า ทักษะในการทำงานหลายอย่างมนุษย์ยังสามารถควบคุมและครอบครองได้อยู่
คอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไร ส่งผลกับโลกของเรายังไง?
252 week ago
มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism
252 week ago
Most read this week
Trending
Comments (2)
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion