272 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที
ปัจจุบันการแข่งขันในวงการเทคโนโลยีและแกดเจ็ตนั้นสูงมาก ทั้งบริษัทเล็กและใหญ่ต่างออกสินค้าใหม่ ๆ มาสู้กัน บริษัทไหนที่ผลิตสินค้าได้ไม่โดนใจผู้บริโภคก็ขายไม่ได้ จนเกิดปัญหาการขาดทุน และต้องปิดตัวลงในท้ายที่สุด แต่ไม่ใช่สำหรับ Xiaomi แบรนด์ขนาดใหญ่จากจีนที่ยุคนี้ไม่มีใครไม่รู้จักซึ่ง ซึ่งเริ่มมาจากบริษัท Start Up ในปี 2010 แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นยักษ์ใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยี โดยมีสินค้าไอทีที่จดสิทธิบัตรมากกว่า 10,000 ชิ้น
Xiaomi ผลิตสินค้าทุกประเภททั้ง Personal Product จนไปถึง Home Product ตั้งแต่สมาร์ทโฟน สมาร์ทวอทช์ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ กล้อง แว่น VR โดรน เครื่องชั่งน้ำหนัก สกู๊ตเตอร์ สมาร์ททีวี เครื่องดูดฝุ่น ปลั๊กไฟ หลอดไฟ กาต้มน้ำ ไดร์เป่าผม เครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ ซึ่งมีไซน์ที่สวยงามและใช้งานได้ดีไม่แพ้สินค้าแบรนด์อื่นที่มีราคาแพงกว่า จนเปลี่ยนภาพลักษณ์สินค้าจากจีนไปจนหมด ล่าสุด Xiaomi กำลังจะผลิตรถยนต์ SUV ออกมา ซึ่งกำลังเป็นที่ฮือฮาในหมู่ผู้บริโภค
Xiaomi จึงถือเป็นบริษัทที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดสูงถึง 102.6% ในปี 2017 และเพิ่มสูงถึง และมีส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าประเภทสมาร์ทโฟนเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยสมาร์ทโฟนเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้ Xiaomi สูงที่สุด เพราะใส่ฟังก์ชันการใช้งานและฟีเจอร์มาเต็มที่ในราคาหลักพันและหลักหมื่นต้น ๆ สำหรับบริษัทที่มีอายุเพียง 9 ปี ถือว่าเติบโตประสบความสำเร็จสูงมาก มาดูกันว่า Xiaomi ทำได้อย่างไร
กลยุทธ์ทางการตลาดของ Xiaomi นั้นแตกต่างจากแบรนด์อื่นที่โฟกัสไปที่พรีเซนเตอร์และโปรโมชั่น แต่ Xiaomi นั้นโฟกัสที่ตัวสินค้าเป็นหลัก โดยถือคอนเซปต์ “สินค้าคุณภาพดีในราคาที่จับต้องได้” หลักการของ Xiaomi คือ สินค้ามีคุณภาพ สามารถใช้งานได้จริง มีดีไซน์ที่เบสิคแต่สวยงาม และราคาสมเหตุผล สามารถเจาะตลาดได้ทุกประเทศ โดยไม่สนใจการจ้างพรีเซนเตอร์ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นที่แตกต่างของแบรนด์ Xiaomi กับแบรนด์จากจีนอื่น ๆ ในตลาด
ในช่วงแรก Xiaomi เริ่มทำตลาดในประเทศจีนบ้านเกิดตัวเองก่อน โดยเริ่มจากการขายสมาร์ทโฟนในราคาย่อมเยานั้น จนสามารถชนะใจตลาดจีนได้ เพราะประเทศจีนในขณะนั้นเศรษฐกิจจีนกำลังค่อย ๆ เติบโต ไม่ได้อู้ฟู่เหมือนทุกวันนี้ ทำให้ชาวจีนส่วนใหญ่ในสมัยนั้น ไม่สามารถซื้อสมาร์ทโฟนที่มีราคาแพงอย่าง Apple และ Samsung ได้
ปัจจุบัน Xiaomi ขยายตลาดไปสู่ อินเดีย อินโดนีเซีย ยุโรปตะวันตก เอเชียตะวันออก ซึ่งแน่นอนว่ามีประเทศไทยด้วย แต่เดิม Xiaomi ประหยัดต้นทุนหน้าร้านมาก จะไม่มีหน้าร้านแต่จะขายผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก แต่ตอนนี้ Xiaomi หันมาเปิด Authorized Dealer ในไทย เพื่อให้เหมาะกับการดูแลตลาดไทยอย่างใกล้ชิดเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค หมดกังวลเรื่องการรับประกันสินค้า
โดยยึดแนวคิด New Retail หรือจะเรียกว่า Omni Retail ก็ได้ ซึ่งเป็นการค้าขายแบบผสมผสานทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งการมีหน้าร้านมีประโยชน์คือผู้บริโภคได้เห็น และสัมผัสกับสินค้าจริง ทำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีหน้าร้านตามห้างสรรพสินค้ากว่า 50 แห่งในไทย นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวร้านค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นบนแพลตฟอร์ม E-Commerce เช่น Lazada และ shopee ซึ่งมีสัดส่วนเป็นกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นและวัยทำงานเป็นส่วนมาก
นอกจากสินค้าแล้ว Xiaomi ยังมีแอปอย่าง Mi Fit ที่เอาไว้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อย่างสมาร์ทวอทช์ และสายรัดข้อมืออัจฉริยะ ทำให้สามารถดูสถิติต่าง ๆ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ นับก้าวเดิน และการเผาผลาญแคลอรีได้ อีกแอปคือ Mi Home ที่ใช้เชื่อมต่อ และควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ Xiaomi ได้ อย่างสมาร์ททีวี กล้องรักษาความปลอดภัย และโคมไฟ เป็นต้น
คาดว่า Xiaomi จะสามารถเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย เพราะผู้บริโภคยอมรับ Xiaomi มากขึ้น และมีฐาน Mi Fans ไม่ใช่น้อย ที่ใช้สินค้าของ Xiaomi ซึ่งเชื่อว่า Xiaomi จะสามารถสร้างเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น เป็นไปตามตัวย่อของ Xiaomi คือ MI ที่ย่อมาจาก Mission Impossible ที่ทำเรื่องยาก ๆ ให้เป็นไปได้มาแล้ว
คอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไร ส่งผลกับโลกของเรายังไง?
247 week ago
มาทำความเข้าใจกับยุค Crowd-based Capitalism
248 week ago
Most read this week
Trending
Comments
Please login หรือ สมัครสมาชิก to join the discussion