Collaboration จับมือไว้แล้วไปด้วยกันของแบรนด์

Collaboration จับมือไว้แล้วไปด้วยกันของแบรนด์

การตลาด

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

246 week ago — ใช้เวลาอ่าน 3 นาที

 

ในปีที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าหลายบริษัทใหญ่ ๆ ได้นำกลยุทธ์ Collaboration หรือการจับมือร่วมธุรกิจระหว่างแบรนด์มาใช้กันเยอะเป็นประวัติการณ์เพื่อต่อยอดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกันเพื่อแตกไลน์สินค้าใหม่ การขยายไลน์สินค้าเดิมออกไป ทำสินค้า Limited Edition เพิ่มยอดขายให้แบรนด์ สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แบรนด์ ขยายฐานลูกค้า หรือแม้กระทั่งการออกแคมเปญทางการตลาดเพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้า เป็นต้น

 

การ Collaboration หรือเรียกสั้น ๆ ว่าการ Collab นั้นสามารถทำได้ทั้งกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือจะข้ามประเภทอุตสาหกรรมไปเลยก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดแต่ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการร่วมมือกันมากกว่า ว่าต้องการทำให้เกิดอะไร ฉะนั้นก่อนที่เราจะทำ Collaboration เราต้องรู้ก่อนว่าเราจะทำการ Collaboration ไปเพื่ออะไร จุดประสงค์ของเราต้องชัดเจนเสมอ เพื่อที่เราจะได้เลือกพันธมิตรทางธุรกิจได้ถูกต้อง 

 

การเลือกพันธมิตรในการ Collaboration เป็นสิ่งสำคัญมาก จะปังหรือจะพังนั้นล้วนมีที่มาจากพันธมิตร จงเลือกพันธมิตรที่มีเป้าหมายและอุดมการณ์เดียวกัน สามารถไปด้วยกันกับเราได้ เพราะจะทำให้การทำงานร่วมกันง่ายขึ้น และพันธมิตรนั้นต้องเป็นที่ชื่นชอบของฐานลูกค้าปัจจุบันของเราด้วย มิเช่นนั้นอาจกลายเป็นโทษมากกว่าประโยชน์ ฉะนั้นเราจะต้องทำการรีเสิร์ชก่อนเสมอ เพื่อให้การทำ Collaboration ออกมาดี และมีประโยชน์สูงสุดกับแบรนด์

 

มาดูกันว่าการทำ Collaboration นั้นมีประโยชน์ต่อแบรนด์อย่างไรบ้าง

 

  1. สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น Bar B Q Plaza x Pizza Hut เป็นการร่วมมือกันในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อออกไลน์สินค้าใหม่ คือ ชุดหมูบาร์บีฮัท และพิซซ่าฮัทบีก้อน ซึ่งกลายเป็นที่ฮือฮาของลูกค้าที่ชอบทานทั้ง 2 แบรนด์ เพราะเข้าไปทานร้านนึงแต่ได้ลิ้มรสอาหารของทั้ง 2 แบรนด์ ทำให้ลูกค้าได้พบกับเมนูใหม่และรสชาติอาหารที่ไม่จำเจน่าเบื่อ สร้าง User Experience ที่ดีให้ผู้บริโภค เป็นการกระตุ้นให้เกิด Need ของลูกค้าต่อไป

 

  1. ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักกว้างขึ้นและขยายฐานลูกค้าของแบรนด์ ตัวอย่างเช่น การร่วมมือกันระหว่าง Greyhound แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นสายเลือดไทย กับ Ikea แบรนด์เฟอร์นิเจอร์จากสวีเดน ที่ Ikea ให้ Greyhound มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ให้ทั้งคอลเลคชั่น ซึ่งคอลเลคชั่นนี้มีไอเดียมาจากพฤติกรรมของคนไทยที่ชอบอะไรสบาย ๆ ซึ่ง Ikea จะได้ประโยชน์ในการเจาะถึงฐานลูกค้าที่ชอบการออกแบบของ Greyhound และ Greyhound จะได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพราะได้ร่วมงานกับแบรนด์ใหญ่อย่าง Ikea และคอลเลคชั่นนี้มีการวางขายทั่วโลก

 

  1. เปลี่ยน Brand Image ของแบรนด์ ตัวอย่างเช่น MK x Milin เป็นการจับมือกันข้ามอุตสาหกรรม ระหว่างอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยการให้แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นชื่อดังอย่าง Milin มาออกแบบชุดยูนิฟอร์มพนักงานให้ MK สร้าง Value ให้กับแบรนด์ MK ให้ดูแพงมากขึ้น และเปลี่ยน Brand Image ของ MK ที่ดูเป็นผู้ใหญ่ ครอบครัว ให้ดูโมเดิร์นขึ้น สามารถเข้าถึงคน Gen Y และ Gen Z ได้มากขึ้น

 

จะเห็นได้ว่าเมื่อ 2 แบรนด์มา Collaborate กันนั้น เป็นการใช้จุดแข็งของอีกแบรนด์มาช่วยอุดรอยรั่วที่เรามี เป็นการต่อยอดธุรกิจไปอีกระดับ ซึ่งความสำเร็จของการ Collaboration นั้นสามารถวัดผลได้โดยดูจากกระแสที่เกิดขึ้นจากผู้บริโภค และยอดขายที่เข้ามาสู่แบรนด์

 

 

Collaboration จับมือไว้แล้วไปด้วยกันของแบรนด์

Comments