7 เคล็ดลับในการสร้างบทสนทนาที่ยอดเยี่ยม

7 เคล็ดลับในการสร้างบทสนทนาที่ยอดเยี่ยม

การเรียนรู้และการพัฒนา

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

275 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

 

เราอาจเคยได้เห็นใครบางคนที่สามารถทำให้ผู้อื่นประทับใจได้ด้วยการสนทนา อะไรที่ทำให้การสนทนาของเขาน่าสนใจจนใครต่อใครต่างต้องตั้งใจฟัง? อะไรที่ทำให้การพูดคุยกับเขาเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น? เราทุกคนต่างสงสัยว่าเราจะเป็นนักสนทนาที่ยอดเยี่ยมได้อย่างไร?

 

ไม่ว่าเราจะสัมภาษณ์งาน  หาลูกค้ารายใหม่ สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงาน หรือสร้างโอกาสในการระดมทุนสำหรับธุรกิจ วิธีที่เราพูดและมีส่วนร่วมในการสนทนาสามารถมอบความสำเร็จของเราได้ ความสามารถในการสื่อสารที่ดีสามารถสร้างผลบวกให้กับทุกคน นี่คือ 7 เคล็ดลับในการทำให้บทสนทนาน่าสนใจ

 

1. อย่าใช้คำซ้ำ ๆ จนติดปาก

 

เราทุกคนต่างรู้ว่าภาษาที่เราเขียนนั้นแตกต่างจากภาษาพูด การพูดจะต้องมีความคมชัดและตรงประเด็น แต่การพูดคำซ้ำ ๆ เช่น 'แบบ' 'เอ่อ' 'ไม่ใช่' 'ในส่วนของ' ฯลฯ ในการพูดของเราแบบไม่รู้ตัวจนกลายเป็นความเคยชิน ทำให้เราแทบจะไม่สังเกตเห็นตัวเองว่าเรามักเริ่มประโยคด้วยคำว่า 'แบบ' และมีแนวโน้มที่จะใช้คำว่า 'อืม' หรือ 'เอ่อ' ทุกครั้งที่หยุดพูดไปชั่วขณะ ดังนั้น เราสามารถหลีกเลี่ยงการใช้คำติดปากด้วยการเตือนตัวเองและแก้ไขการใช้คำอยู่เสมอ

 

2. พูดให้ช้าลง

 

หลายคนมักพูดเร็วเมื่อรู้สึกตื่นเต้น การพูดออกมาทันทีมันเป็นเรื่องง่ายที่จะเกิดข้อผิดพลาด แต่หากเราคิดก่อนแล้วค่อยพูดโอกาสที่จะทำผิดพลาดน้อยลง และมีเวลามากขึ้นที่จะเลือกใช้คำในการพูด เว้นระยะชั่วคราวหลังประโยคที่เราพูดทุกครั้ง สิ่งนี้จะทำให้เราพูดได้ดีขึ้น

 

3. ตั้งสติและควบคุมความประหม่า

 

บางครั้งเมื่อเราสับสนและประหม่า อาจทำให้ประโยคคำพูดของเรายาวเกินไปโดยไม่จำเป็น ทำให้ผู้ฟังหมดความสนใจในสิ่งที่เราพูด ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับการสนทนาแบบตัวต่อตัว เช่น กำลังนั่งสัมภาษณ์ และผู้สัมภาษณ์ถามคำถามง่าย ๆ แต่เราไม่กล้าพูดออกไป สิ่งนี้จะทำให้เห็นว่าคุณเป็นคนที่มีสกิลการสนทนาที่ไม่ดี และไม่สร้างความประทับใจให้ผู้สัมภาษณ์

 

4. พูดด้วยเสียงที่สงบและฟังชัดเจน

 

เสียงของเราสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ฟังหรือไม่? ถ้าไม่เราอาจต้องเปลี่ยนการพูด โดยพูดด้วยเสียงที่ฟังแล้วสงบและชัดเจน การพูดเสียงดัง พูดช้าเกินไป หรือเบาเกินไป จะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง เสียงที่สงบช่วยทำให้เราเป็นนักพูดที่ดี และเป็นคนที่ผู้อื่นสามารถไว้วางใจได้

 

5. ฟังก่อนพูด

ปัญหาการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดคือความไม่เข้าใจ เราฟังเพื่อตอบ ลองฟังสิ่งที่คนอื่นพูด และรู้จักรอโอกาสให้ถึงตาเราพูด หากเราฟังอย่างตั้งใจจะทำให้เราสามารถเลือกหัวข้อเพื่อนำไปสู่การสนทนาที่ดีได้

 

6. อย่าถามคำถามมากเกินไป

 

การถามคำถามมากเกินไปอาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเป็นการสัมภาษณ์หรือสอบปากคำ ลองถามให้น้อยลงเพื่อสร้างบทสนทนาที่ดีและไม่สร้างความลำบากใจให้ผู้ฟัง

 

7. ตอบโต้กับผู้ฟัง

 

การตอบโต้เป็นกุญแจสำคัญในการมีบทสนทนาที่ดี การสื่อสารด้านเดียวหรือการตอบเพียงแค่คำว่า ใช่ ไม่ใช่ หรือประโยคสั้น ๆ นั้น ทำให้การสนทนาน่าเบื่อและดูไม่ใส่ใจ ลองแชร์สิ่งที่คุณรู้สึกและความคิดเห็น เมื่อมีคนแชร์ประสบการณ์จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนทนา

 

วิธีที่ดีที่สุดในการฝึกฝนทักษะการสนทนา คือการใส่ใจกับคำพูดประจำวันของเรา และแก้ไขตัวเองอยู่เสมอ แล้วจะพบว่าคำพูดของเรานั้นเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสนทนาครั้งต่อไปอีกแล้ว ทำให้เกิดโอกาสที่ดีและประสบความสำเร็จในการเจรจา

 

คอยติดตามบทความถัดไปที่เราจะแชร์เรื่องง่าย ๆ เพื่อเริ่มต้นการสนทนาที่ยอดเยี่ยม!

 

 

Comments