หากเริ่มมีความคิดที่อยากจะวางมือ คุณควรเริ่มวางแผนเสียตั้งแต่วันนี้

หากเริ่มมีความคิดที่อยากจะวางมือ คุณควรเริ่มวางแผนเสียตั้งแต่วันนี้

การเรียนรู้และการพัฒนา

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

226 week ago — ใช้เวลาอ่าน 5 นาที

หากเริ่มมีความคิดที่อยากจะวางมือ คุณควรเริ่มวางแผนเสียตั้งแต่วันนี้ 

 

เมื่อไม่นานมานี้ คำประกาศของ แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งบริษัท eCommerce ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Alibaba ที่จะวางมือจากการดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Alibaba Group เนื่องในวโรกาสครบรอบ 20 ปีของ Alibaba ได้สร้างความฮือฮาให้กับคนทั้งโลก พร้อมกันนั้นเขาได้ทำการเลื่อนตำแหน่งให้ แดเนียล จาง CEO ของ Alibaba ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการแทนที่ตนเอง 

 

คุณคิดว่าการที่คนที่ดำรงตำแหน่งผู้นำองค์กรยักษ์ใหญ๋ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วนั้นจะก้าวลงจากตำแหน่งนั้นเป็นไปได้หรือ หากเขาไม่ได้ทำการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งเอาไว้ก่อนหน้านี้ แน่นอนว่าเรื่องแบบนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ เป็นเพราะ แจ็ค หม่า ได้วางแผนเรื่องการสืบทอดตำแหน่งเอาไว้อย่างชัดเจน เขาจึงสามารถที่จะวางมือได้ในวัยเพียง 55 ปี และนี่คือบทเรียนสำคัญที่ผู้ประกอบการทุก ๆ คนควรที่จะเรียนรู้จาก แจ็ค หม่า 

 

เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง คุณเองก็จะต้องส่งมอบตำแหน่งผู้นำบริษัทให้กับใครซักคนหนึ่ง ถึงแม้ว่าคุณคิดที่จะขายบริษัทของคุณ คุณก็ยังต้องคิดถึงแผนการในการสร้างรายได้ให้กับตนเองในชีวิตหลังเกษียณ หรือแม้กระทั่งแผนการในการเปลี่ยนสายงาน เพื่อให้ทุก ๆ อย่างเกิดขึ้นอย่างราบรื่นที่สุด ลองมาดูกันว่าคุณจะทำอย่างไรได้บ้าง

 

เมื่อถึงเวลาที่คุณคิดจะวางมือจากธุรกิจของคุณ คุณมีทางเลือกดังต่อไปนี้:

 

  • ส่งมอบตำแหน่งผู้นำบริษัทต่อให้กับคนในครอบครัว

  • ส่งมอบบริษัทต่อให้กับผู้ร่วมงานที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำคนต่อไป

  • ขายบริษัทให้กับบุคคลที่สามหรือผู้รับซื้อ

  • ขายบริษัทให้กับใครซักคนในองค์กร

 

เมื่อคุณเลือกแล้วว่าจะวางมือด้วยวิธีไหน สิ่งที่คุณต้องทำในขั้นตอนต่อไปเพื่อวางแผนการส่งมอบบริษัทก็คือ:

 

1. ประเมินมูลค่าของธุรกิจ

หากคุณไม่ได้วางแผนที่จะขายบริษัท สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือการประเมินมูลค่าของธุรกิจของคุณ ซึ่งนั่นจะช่วยให้คุณวางแผนชีวิตหลังเกษียณได้ง่ายยิ่งขึ้นจากการเลือกซื้อประกันต่าง ๆ ในการประเมินมูลค่าของธุรกิจ คุณจะต้องตั้งราคาหุ้น ณ ปัจจุบันให้กับธุรกิจของคุณ ซึ่งคุณสามารถทำการจ้างผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบัญชีที่มีใบอนุญาตเพื่อช่วยคุณดำเนินการประเมินมูลค่าธุรกิจของคุณได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น หรือคุณอาจเลือกที่จะทำการตกลงกันระหว่างหุ้นส่วนทุก ๆ คนในบริษัท 

 

 

2. เลือกผู้สืบทอด

หากคุณคิดที่จะส่งมอบบริษัทของคุณให้กับผู้สืบทอด คุณควรที่จะต้องวางแผนการส่งมอบตำแหน่งให้กับผู้สืบทอดเป็นไปอย่างราบรื่น อาทิเช่น หากคุณต้องการส่งมอบตำแหน่งผู้นำบริษัทให้กับคนในครอบครัว คุณควรที่จะต้องดำเนินการวางแผนการส่งมอบมรดกให้เป็นไปอย่างถูกต้อง หากคุณมีธุรกิจขนาดกลาง คุณอาจจำเป็นที่จะต้องทำการถ่ายทอดความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นให้กับคนที่เก่งที่สุดในองค์กรเพื่อสืบทอดตำแหน่งต่อไป 

 

การวางแผนการเกษียณเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากการจะหาตัวผู้นำที่ดีที่จะสามารถนำพาองค์กรที่คุณทุ่มแรงกายแรงใจปลุกปั้นขึ้นมากับมือนั้นถือเป็นเรื่องยาก และถึงแม้ว่าคุณจะหาตัวคน ๆ นั้นได้แล้ว คุณอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการบ่มเพาะและถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ให้กับเขาเพื่อให้การวางมือของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น แทนที่จะจ้างคนนอก การส่งมอบบริษัทให้กับคนในที่ทำงานให้กับคุณอยู่แล้วย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า 

 

3. อบรมพวกเขา

เมื่อคุณได้ทำการเลือกผู้สืบทอดตำแหน่งได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการอบรมพวกเขา คุณควรวางแผนการอบรมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้สืบทอดของคุณมีเวลามากพอที่จะเรียนรู้แนวทางในการเป็นผู้นำองค์กรคนต่อไป คุณควรจะต้องวางแผนให้การอบรมผู้สืบทอดของคุณเป็นไปอย่างคุ้มค่าในแง่ของการลงทุน และเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง คุณควรเลือกตัวแทนของผู้สืบทอดเอาไว้ด้วย ในกรณีที่ผู้สืบทอดที่คุณเลือกไว้ไม่สามารถตำรงตำแหน่งได้ 

 

4. ทบทวนและอัพเดทแผนการของคุณอยู่เสมอ

การวางแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำองค์กรนั้นเป็นเรื่องที่ใช้เวลาและพละกำลังมาก และเมื่อคุณได้ทำการร่างแผนการนั้นขึ้นมาแล้ว คุณควรทบทวนมันอยู่เสมอ หากจำเป็น คุณควรว่าจ้างคณะที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องของแนวทางการปฏิบัติ นอกจากนี้ เมื่อเวลาผ่านไป นโยบายต่าง ๆ อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในองค์กรของคุณ ดังนั้นคุณควรทำการอัพเดทแผนการสืบทอดตำแหน่งของคุณอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การส่งมอบตำแหน่งเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด

 

5. แก้สถานการณ์เรื่องภาษีให้เรียบร้อย

กรณีนี้จะเกิดขึ้นในกรณีที่คุณตัดสินใจส่งมอบบริษัทให้กับคนในครอบครัว ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการส่งมอบมรดก ดังนั้นการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณควรพิจารณาเรื่องภาษีให้รอบคอบ โดยเฉพาะภาษีเงินได้และภาษีมรดก

 

ดังนั้น คุณควรวางแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำบริษัทเอาไว้เสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวเมื่อคุณตัดสินใจที่จะวางมือจากบริษัท และเพื่อให้การส่งมอบบริษัทเป็นไปอย่างราบรื่นทั้งสำหรับคุณ สำหรับผู้สืบทอดของคุณ และสำหรับองค์กรของคุณ 

 

หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ได้เริ่มวางแผนการวางมือเอาไว้แล้ว มาร่วมแบ่งปันแผนการของคุณได้ในกล่องความคิดเห็นด้านล่าง

 

 

Comments