รับมืออย่างไร กับมาตรการใหม่ "ภาษีความหวาน"

รับมืออย่างไร กับมาตรการใหม่ "ภาษีความหวาน"

ภาษีและการตรวจสอบ

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

333 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

หลังจากที่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายจัดเก็บภาษีของเครื่องดื่มตามระดับความหวานตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 ซึ่งจะส่งผลในอีก 2 ปีข้างหน้าคือตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป โดยการจัดเก็บอัตราภาษีใหม่นี้จะคิดจากค่าความหวานของปริมาณน้ำตาลทั้งหมดที่มีอยู่ในเครื่องดื่ม ซึ่งจากเดิมเป็นการจัดเก็บภาษี 20% ของราคาหน้าโรงงานหรือราคานำเข้า แต่อัตราภาษีใหม่นี้จะเป็นการคิดคำนวณจากเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10% ต่อ 100 มล. จะถูกเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า 6 ระดับ

 

นั่นหมายถึงในอีก 2 ปีข้างหน้า เครื่องดื่มชนิดใดยิ่งมีน้ำตาลมากหรือหวานมากก็จะต้องยิ่งเสียภาษีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งวิธีการจัดเก็บแบบนี้ยังไม่เคยมีมาก่อนนับเป็นครั้งแรกของไทย โดยสูตรการคิดอัตราภาษีแบบใหม่นี้จะเป็นการคิดจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% + ภาษีสรรพสามิตของราคาขายปลีกแนะนำ + ภาษีปริมาณน้ำตาลทั้งหมด อัตราการจัดเก็บภาษีแบบใหม่นี้จะส่งผลให้รัฐมีรายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นมาประมาณ 2% จากเดิม และการที่รัฐให้ระยะเวลา 2 ปีในการปรับตัวครั้งนี้ หากผู้ประกอบการใดสามารถทำได้ก็อาจทำให้เสียภาษีในอัตราเท่าเดิมหรือลดลง จึงไม่น่าจะทำให้เกิดการปรับเพิ่มราคาสินค้าในช่วงระยะเวลา 2 ปีจากนี้

 

เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 111 รายการที่ต้องเสียภาษีดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มน้ำอัดลม น้ำผัก น้ำผลไม้ ชาเขียว เกลือแร่ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มพร้อมดื่มอื่นๆ ยกเว้นนม

 

อัตราการจัดเก็บภาษีตามค่าความหวานทั้ง 6 ระดับ (ตามปริมาณน้ำตาล ต่อ 100 มิลลิลิตร) มีดังนี้

  1. ปริมาณน้ำตาล 0-6 กรัม ไม่เสียภาษี

  2. ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม เสียภาษี 10 สตางค์ ต่อลิตร

  3. ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม เสียภาษี 30 สตางค์ ต่อลิตร

  4. ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัมเสียภาษี 50 สตางค์ ต่อลิตร

  5. ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม เสียภาษี 1 บาท ต่อลิตร

  6. ปริมาณน้ำตาล 18 กรัมขึ้นไป เสียภาษี 1 บาท ต่อลิตร (เช่นกัน)

 

ในมุมนักวิชาการนั้นเห็นว่าการปรับอัตราการจัดเก็บภาษีในครั้งนี้ประโยชน์สูงสุดน่าจะมีต่อภาครัฐเป็นสำคัญ ส่วนในเรื่องของสุขภาพของผู้บริโภคนั้น ในความเป็นจริงขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนบุคคลมากกว่า หากใครที่ชอบรสชาติหวานก็หาวิธีเพิ่มความหวานได้ด้วยตัวเอง วิธีนี้อาจไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากนัก และอาจไม่ได้ทำให้การประชาชนลดการบริโภคน้ำหวานลดลงแต่อย่างใด ดังนั้น ควรที่จะต้องเร่งการให้ความรู้ความเข้าใจต่อผู้บริโภคในเรื่องของการให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพของตนมากกว่า

 

เช่นเดียวกับในฟากของผู้ประการในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่ประเมินผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีในอัตราใหม่นี้ว่า น่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการใช้น้ำตาลในภาคการผลิตมากนัก หากแต่ผลกระทบอาจเกิดขึ้นต่อความเข้าใจของผู้บริโภคที่อาจผิดไปจากความเป็นจริง ทำให้มีการบริโภคอาหาร หรือการบริโภคน้ำตาลทรายลดน้อยลงจนอาจเกิดโทษต่อร่างกาย ทั้งที่ความจริงแล้วร่างกายคนเรายังจำเป็นต้องได้รับสารอาหารให้เพียงพอในแต่ละวัน และปริมาณน้ำตาลที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือวันละ 6 ช้อนชา หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งอาจมากกว่านี้ได้เล็กน้อยขึ้นอยู่กับเพศและช่วงวัยก็แตกต่างกัน

 

นับจากนี้ไปจนถึงช่วงเวลาดังกล่าว รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาลในสินค้าของตนให้ต่ำลง หากรายใดยังไม่สามารถปรับตัวได้ก็จำเป็นต้องถูกจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าข้างต้น ประกอบกับภาครัฐและเอกชนควรต้องร่วมมือกันเร่งสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริโภคในเรื่องของการบริโภคน้ำตาลในปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน และต้องเน้นย้ำในเรื่องของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวควบคู่กันไป

 

รับมืออย่างไร กับมาตรการใหม่ "ภาษีความหวาน"

Comments