Stories กลายเป็น Next Gen Content

Stories กลายเป็น Next Gen Content

การตลาด

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

223 week ago — ใช้เวลาอ่าน 4 นาที

Stories กลายเป็น Next-Gen Content

 

อย่างที่รู้กันดีว่าคอนเทนต์มีหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบของรูปภาพ บทความ วิดิโอ กิฟ และอินโฟกราฟฟิก ขึ้นอยู่กับว่าเราลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่าง Gen Y และ Gen Z  การเติบโตของ Stories เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากและมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสื่อโซเชียลอย่างอินสตาแกรมที่มีการอัพเดต Stories กันแบบเรียลไทม์ ทำให้ธุรกิจที่ต้องการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและอยากเป็นส่วนหนึ่งของการพูดถึง เลือกใช้ Stories เป็นอีกรูปแบบในการนำเสนอสินค้าหรือบริการ

ทำไมการทำการตลาดผ่าน Stories จึงกลายเป็นที่นิยม ?

หลายคนอาจจะมองสงสัยว่าการทำคอนเทนต์ผ่าน Stories เหมาะสมแค่บางธุรกิจหรือเปล่า แต่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหาร, ธุรกิจแฟชั่น, ธุรกิจท่องเที่ยว,ธุรกิจความสวยความงาม และ ธุรกิจเพื่อการศึกษา แพลตฟอร์มอินสตาแกรมกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำและเป็นช่องทางในการถ่ายทอดเรื่องราวของสินค้าและบริการ รวมถึงสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นได้จริงด้วยเหตุผล ดังนี้ 

  1. จำนวนผู้ใช้งาน : จากข้อมูลสถิติของ Omnicore แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินสตาแกรมอยู่ประมาณ 1000 ล้านคนต่อเดือน แต่ละวันจะมีผู้ใช้ในแพลตฟอร์มนี้ประมาณ 500 ล้านคน และมีผู้ใช้ อินสตาแกรม Stories รายวันประมาณ 400 ล้านคน ด้วย TNS Research  บริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ พบว่าปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินสตาแกรมกว่า 7.1 ล้านคนต่อเดือน โดย 83% เป็นกลุ่มอายุ 18-34 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนยุค Gen Y และ Gen Z ที่มีอำนาจในการซื้อและเป็นคนกำหนดทิศทางของเทรนด์โลกในอนาคต

  2. เปิดกรอบความคิดสร้างสรรค์ในการเล่าเรื่อง :  เนื่องจาก Stories สามารถอัพได้จำนวนไม่จำกัดในแต่ละวัน แต่คอนเทนต์มีเวลาอยู่ได้ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคนสร้างคอนเทนต์ ที่ต้องสร้างสรรค์ผลงานหรือต้องเล่าเรื่องราวให้ดึงดูดและกระชับ เพื่อทำให้ผู้เสพสื่อเข้าใจง่ายและโน้มน้าวให้พวกเขากดคลิกเข้าไปดูสินค้าหรือบริการต่าง ๆ นอกจากนี้ตัว Stories ยังมีฟีเจอร์สร้างรูปและวิดิโอที่มีลูกเล่นอัพเดตให้ผู้ใช้ได้ลองเล่นกันแบบไม่มีเบื่อ เช่น รีไวนด์ ซูเปอร์ซูม ไลฟ์ บูมเมอแรง กิฟ และสติกเกอร์ เป็นต้น ทำให้การเล่น Stories ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงสินค้าอย่างเดียว แต่ยังสร้างความบันเทิงที่ผู้ใช้สามารถสัมผัสได้ด้วยตัวเองอีกด้วย

  3. สามารถเข้าถึงได้ง่าย : ผู้ใช้งานส่วนใหญ่อัพ stories ของตัวเองผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเรื่องที่อัพก็จะเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสมจริงและทันต่อเหตุการณ์ค่อนข้างสูง ลูกค้าจึงสามารถเข้าถึงได้ง่าย ราวกับว่าใกล้ชิดกับคนที่กำลังติดตามอยู่ ณ เวลานั้น ๆ และด้วยการถูกกำหนดของเวลาที่ภายใน 24 ชั่วโมง stories จะถูกลบ ทำให้เกิด

การกระตุ้นการมีส่วนร่วมและเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้เป็นอย่างดี  เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์ ไม่อยากพลาด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของโปรโมชั่น กิจกรรมร่วมสนุก หรือแคมเปญต่าง ๆ นอกจากนี้การที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย เป็นเพราะการระบุตำแหน่ง ( Location Stickers ) ทำให้ลูกค้ารู้ว่าอยู่ที่ไหนหรือกิจกรรมของแบรนด์จัดขึ้นที่ไหน เป็นฟีเจอร์ที่เพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าสำหรับวางแผนการเดินทางได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นนอกจากการสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบของรูปภาพ บทความ วิดิโอในแบบเดิมแล้ว ยังมี Stories ที่เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับดึงดูดลูกค้าผ่านการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ที่กระชับ ได้ใจความ ในเวลาที่จำกัด ซึ่งในปัจจุบันนั้นถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก เพราะไม่จำเจและยังเป็นการสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ ด้วยการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ผ่านการเล่าเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้สร้างคอนเทนต์มากเลยทีเดียว

 

Comments