DNA Ecconomy คือ แนวโน้มในการรักษาโรคในอนาคต

DNA Ecconomy คือ แนวโน้มในการรักษาโรคในอนาคต

สุขภาพและไลฟ์สไตล์

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

219 week ago — ใช้เวลาอ่าน 5 นาที

           DNA Ecconomy คือ แนวโน้มในการรักษาโรคในอนาคต

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา การศึกษาพบว่า แบคทีเรียพัฒนาการต้านยาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ยาปฏิชีวนะที่เคยถูกขนานนามว่าเป็นยาที่ช่วยให้มนุษย์เป็นอมตะ ช่วยป้องกันการสูญเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง โรคเอดส์ การปลูกถ่ายเนื้อเยื่ออวัยวะ เด็กทารกที่เกิดก่อนกำหนด การขยายหลอดเลือดที่ตีบ การฟอกไต และอีกสารพัดความเจ็บป่วยนั้น กำลังดื้อยา เป็นผลมาจากการบริโภคยาปฏิชีวนะมากเกินไป จนเกิดเป็นอาการที่เรียกว่า จุลินทรีย์ที่่มีความสามารถในการต้านทานฤทธิ์ยาอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากความประมาทในการใช้ยาของมนุษย์นั่นเอง และด้วยความสามารถของแบคทีเรียที่สามารถส่งต่อ DNA ให้กันและกันได้เหมือนเครือข่ายการเดินทางในทุกวันนี้ เราจึงไม่อาจรู้ได้เลยว่ามันจะกระจายไปทางไหน

 

             นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ เศรษฐกิจ DNA (DNA Economy) เดินหน้าสู่เศรษฐกิจโลก และกำลังท้าทายสร้างความสั่นคลอนในด้านต่างๆ ก้าวออกมาสู่ความสนใจของคนทั้งโลกได้ในเวลานี้ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2022 ตลาดธุรกิจทดสอบยีนจะแตะ 10.04 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั่วโลก DNA Economy มีแนวโน้มจะสร้างแรงกระเพื่อมให้หลายธุรกิจ อย่างนวัตกรรมล่าสุด ด้วย DNA Barcode สามารถช่วยกำจัดสารพิษในอาหารรวมถึงตรวจสอบสารประกอบที่ไม่ได้ปรากฏในป้ายฉลาก ตลอดจน DNA ยังเป็นพื้นฐานด้านความปลอดภัยอีกด้วย

             ในขณะที่ประเทศต่างๆ ปฏิวัติระบบดูแลสุขภาพ มีการลงทุนเพื่อสร้างช่องทางแก้ปัญหาใหม่ๆ จีนเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมที่ลงทุนไปแล้วกว่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างความแม่นยำในการจ่ายยาผ่านการวิจัย เรียกได้ว่าการวินิตฉัยโรคทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานด้านพันธุศาสตร์ จะช่วยถอนรากใบสั่งยาที่ไร้ประสิทธิภาพ และวินิจฉัยโรคให้ตรงจุดมากขึ้น หรือกล่าวได้ว่า หมดเวลาแล้วกับการจ่ายยาเกินขนาดเพื่อรักษาโรคให้หายขาด

             หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยก็มีวิสัยทัศน์และนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมและอุตสาหกรรมใหม่ และกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการแพทย์ครบวงจร เกี่ยวข้องโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในการใช้ทรัพยาการทางชีวภาพและพันธุกรรม (Biological and Genetic Resources) จากความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทย และมีการนำความรู้และเทคโนโลยีด้านชีววิทยา จีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เทคโนโลยีด้านอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตพลังงาน สารเคมีและชีวเคมี การผลิตและแปรรูปอาหาร อาหารสุขภาพ อาหารเสริม เวชสำอางค์ ชีววัตถุปัองกันและรักษาโรค วิธีตรวจวินิจฉัย ยาและเภสัชภัณฑ์ ฯลฯ เป็นต้น  การประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีทางชีววิทยา จีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ สามารถจะทำให้เกิดนวัตกรรม อุตสาหกรรมการสร้างงาน การบริการ บริษัทและธุรกิจในรูปแบบและแนวทางใหม่ขึ้นได้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

    สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทยในฐานะสมาคมวิชาการด้านพันธุศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของนักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้สนใจทั่วไป ได้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญในการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านชีววิทยา  จีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าและความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย จึงจัดการประชุมวิชาการ Recent Advances in Genomics and Genetics 2018 Conference (RAGG2018): “Innovative Genomics and Genetics” โดยมีเนื้อหาหลักมุ่งเน้นการใช้ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านชีววิทยา จีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมความรู้และวิชาการ 3 สาขาหลักของสมาคมฯ คือ มนุษยพันธุศาสตร์ พันธุศาสตร์เกษตร พันธุศาสตร์พื้นฐาน และกระจายความเชี่ยวชาญอยู่ในเครือข่ายวิชาการของสมาคมฯ ทั้ง 16 เครือข่าย ในการนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์เพื่อสร้างนวัตกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจและบริการ ทั้งในลักษณะต่อยอดและในแนวทางใหม่ ในปัจจุบันและอนาคต

             ชีวสารสนเทศ (bioinformation) รหัสพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีด้านข้อมูล เมื่อผนวกเข้าด้วยกันจะสามารถสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพส่วนบุคคลที่ดียิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ทั้งยังเป็นการเปิดรับช่องทางใหม่ๆ ในการรักษาซึ่งล้วนมีผลดีต่อผู้ป่วย เนื่องจากมีราคาถูกลงและให้ผลที่ยั่งยืนมากกว่าเดิม นอกจากนั้นเทคโนโลยีด้านพันธุศาสตร์ยังช่วยพัฒนาด้านการตรวจสอบวินิจฉัย โดยไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากไปกว่าการตรวจเลือด

     การขยายความรู้ด้านพันธุศาสตร์ในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของเซลล์
การปลูกถายอวัยวะ รวมถึงการบำรุงรักษายีน ให้มีความแข็งแรง พัฒนาสู่การต้านทานโรคติดเชื้อ หรือการเสื่อมสภาพ เป็นหนึ่งในแนวโน้มการรักษาโรคที่สำคัญในอนาคต

Comments