5 นวัตกรรมใหม่ในปี 2019

5 นวัตกรรมใหม่ในปี 2019

Technology

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

235 week ago — 5 min read

 

เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล แน่นอนว่าเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาไปไกลกว่าเดิมแบบก้าวกระโดด มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาอำนวยความสะดวกมากมาย ในปีนี้มีนวัตกรรมอะไรที่มาแรงบ้าง ตั้งแต่ต้นปีจนมาถึงครึ่งปีหลังของปี 2019 เราจะสรุปมาให้ดูกัน

 

1. รถยนต์ไร้คนขับ

 

รถยนต์ไร้คนขับนั้นเป็นนวัตกรรมที่มีแนวคิดมายาวนาน และมีรถต้นแบบที่ถูกปล่อยออกมาให้เห็นจากหลายบริษัท รถยนต์ไร้คนขับนั้นมีการพัฒนาต่อยอดมาเรื่อย ๆ จากในสมัยแรกที่การใช้เทคโนโลยีมีข้อจำกัด ทำให้สามารถเข้ามาช่วยในการขับขี่ได้ในระดับเบื้องต้น เช่น การควบคุมระดับความเร็ว, การแจ้งเตือนเมื่อเกิดการเปลี่ยนเลน หรือการกะระยะเบรคอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ยังต้องมีคนขับคอยควบคุมรถอยู่หลังพวงมาลัย

 

จนในปี 2019 ที่เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมาก จนระบบสามารถควบคุมการทำงานของรถได้เต็มที่อย่างปลอดภัยมากขึ้นด้วย AI ที่มีระบบ Learning ได้ด้วยตัวเอง โดยคนไม่ต้องควบคุมรถเองเพียงแค่คอยดูอยู่หลังพวงมาลัยเท่านั้น ปีนี้จึงเป็นปีที่รถยนต์ไร้คนขับถูกปล่อยออกมาใช้งานได้จริงบนท้องถนน เช่น Waymo รถยนต์ไร้คนขับที่พัฒนาร่วมกับบริษัท Google ที่ผ่านกานพัฒนาและทดสอบมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2016 จนได้ทดลองใช้งานรับส่งคนจริง ๆ ในเมือง Chandler รัฐ Arizona

 

2. บิ๊กไบค์พลังงานไฟฟ้า

 

ปีนี้เป็นยุคที่ผู้คนให้ความใส่ใจกับปัญหาโลกร้อนมากขึ้น พลังงานสะอาดอย่างพลังไฟฟ้าจึงเข้ามามีบทบาทในทุกอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ในวงการผลิตรถจักรยานยนต์และบิ๊กไบค์ ที่หลายค่ายหันมาผิตบิ๊กไบค์ใช้พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบ อย่างเช่น ค่าย Harley-Davidson ที่เพิ่งปล่อยบิ๊กไบค์รุ่นใหม่อย่าง LiveWire ซึ่งการชาร์ต 1 ครั้งสามารถขี่ได้ไกลประมาณ 180 กิโลเมตร และสามารถทำความเร็วจาก 0-90 อยู่ที่ 3.5 วินาที 

 

นอกจากบริษัท Harley-Davidson ยังมีค่ายมอเตอไซต์ใหญ่อย่าง Triumph ที่กำลังพัฒนาโปรเจ็ค Triumph TE-1 บิ๊กไบค์ไฟฟ้าทรงคลาสสิค และยังมีค่ายอื่น ๆ  จากทั้งประเทศจีนและอินเดียที่ทยอยเปิดตัวบิ๊กไบค์พลังงานไฟฟ้าออกมาเรื่อย ๆ

 

3. คอนแทคเลนส์ถ่ายภาพและวิดีโอได้

 

ล่าสุดทาง Sony ได้จดสิทธิบัตรและเปิดตัวคอนเซ็ปต์ของคอนแทคเลนส์อัจฉริยะที่สามารถถ่ายรูปและวิดีโอได้ เพียงแค่ผู้ใช่คอนแทคเลนส์กระพริบตาเท่านั้น จากนั้นภาพและวิดีโอจะถูกบันทึกลงไปในหน่วยความจำที่ติดตั้งอยู่ในคอนแทคเลนส์ นอกจากความสามารถในการถ่ายภาพและวิดีโอ คอนแทคเลนส์นี้ยังสามารถตรวจวัดค่าสุขภาพของผู้ใส่ และได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดค่าต่างๆ เช่น แรงดัน ความเร่ง การสั่นสะเทือน ไว้อีกด้วย ซึ่งจะสามารถแยกระหว่างการกระพริบตาแบบไม่ได้ตั้งใจกับการกระพริบตาเพื่อถ่ายภาพได้

 

Sony ไม่ใช่เจ้าเดียวที่ให้ความสนใจกับการผลิตคอนแทคเลนส์อัจฉริยะ เพราะทั้งทาง Samsung และ Google ก็ให้ความสนใจกับเรื่องนี้เช่นเดียวกัน คาดว่าอาจจะนำไปต่อยอดกับสินค้ามือถือหรืออุตสาหกรรมเกมในอนาคต

 

4. อาหารสังเคราะห์

 

ในปัจจุบันความต้องการในด้านอาหารเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประชากรของโลกมีจำนวนมากขึ้น รวมไปถึงหลายคนได้ตระหนักถึงภาวะโลกร้อน ที่ส่วนนึงเกิดมาจากกรรมวิธีผลิตเนื้อสัตว์ที่ปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก นักวิทยาศาสตร์จึงได้วิจัยสิ่งที่จะมาทดแทนเนื้อสัตว์ เพื่อรับมือภาวะขาดอาหารในอนาคต และชะลอภาวะโลกร้อน

 

โดยการทดลองผลิตเนื้อสัตว์สังเคราะห์ที่เกิดจากการเพาะเซลล์ในห้องแลปเรียกว่า Clean Meat ข้อดีคือใช้พลังงาน อาหาร น้ำ หรือทรัพยากรอื่น ๆ น้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารแบบทั่วไป และดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าในระยะยาว

 

นอกจาก Clean Meat ปัจจุบันยังมีการผลิต Plant-Based Food หรืออาหารที่ทำจากพืชเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ โดยมีพืชเป็นส่วนประกอบหลักถึง 95% ปัจจุบันมีหลายบริษัท เช่น Beyond Meat และ Impossible Food เข้ามาทำอย่างจริงจัง ข้อดีของ Plant-Based Food คือสามารถรักษาโรคภัยอย่าง โรคหัวใจ อัลไซเมอร์ส เบาหวาน และโรคอ้วน รวมไปถึงช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย และยังดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 

5. หุ่นยนต์จาก Toyota

 

ล่าสุดทาง Toyota ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ 5 ตัว สำหรับงานโอลิมปิก 2020 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงโตเกียว โดยแต่ละตัวมีคุณสมบัติที่ต่างกัน ได้แก่ 

 

1. หุ่นยนต์มาสคอต Miraitowa และ Someity: หุ่นยนต์สำหรับต้อนรับและโต้ตอบกับผู้เข้าชมการแข่งขัน และคอยให้ความบันเทิงโดยรอบพื้นที่การแข่งขันกีฬา

2. หุ่นยนต์​ T-HR3: หุ่นยนต์แบบ Humanoid ที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบมนุษย์ สามารถโต้ตอบกับนักกีฬาในสนามแข่งได้ เช่น การไฮไฟว์แท็กมือกับนักกีฬาในสนาม เป็นต้น

3. หุ่นยนต์ T-TR1: หุ่นยนต์ติดตั้งกล้องวิดีโอสื่อสาร สามารถเคลื่อนที่ไปในพื้นที่การแข่งขัน ให้ผู้ที่ไม่สามารถมาชมการแข่งขัน ชมการแข่งขันผ่านหน้าจอได้ โดยมุมมองจะเหมือนไปนั่งอยู่ในสนามจริงๆ

4. หุ่นยนต์ HSR และ DSR: HSR เป็นหุ่นยนต์ช่วยเหลือมนุษย์ ในการบอกทางและให้ข้อมูลที่นั่งในสนาม ส่วน DSR เป็นหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าอื่น ๆ

5. หุ่นยนต์ FSR: หุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันขว้างสิ่งของระยะไกล เช่น พุ่งแหลน โดยทำหน้าที่ไปเก็บหอกที่ขว้างไป ช่วยลดจำนวนเจ้าหน้าที่และช่วยลดการเสียเวลาในสนาม

 

โดยหุ่นยนต์ทั้ง 5 ประเภทนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาชม และสร้างสีสันในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ได้อย่างแน่นอน

 

 

5 นวัตกรรมใหม่ในปี 2019

Comments