ดนตรีช่วยให้คนจดจำแบรนด์

ดนตรีช่วยให้คนจดจำแบรนด์

Marketing

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

228 week ago — 6 min read

ดนตรีช่วยให้คนจดจำแบรนด์ 

นักปราชญ์เรื่องชื่อของกรีก เพลโต เคยกล่าวเอาไว้ว่า “ดนตรีคือจิตวิญญาณของจักรวาล ดนตรีติดปีกให้กับ

จิตใจ และทำให้จินตนาการสามารถโบยบินไปยังท้องนภา ดนตรีคือชีวิตของทุก ๆ สรรพสิ่ง” ไม่มีซุ่มเสียงใด

ในโลกที่จะไพเราะเสนาะหูได้เท่ากับเสียงเพลง และหลายครั้งแบรนด์ใหญ่ ๆ มักเลือกใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือ

ในการสร้างตัวตนของแบรนด์และความประทับใจให้กับลูกค้า และด้วยความที่โลกยุคดิจิทัลในปัจจุบันแทบจะ

หมุนรอบสื่อออนไลน์และ Social Media ต่าง ๆ อย่าง YouTube, Facebook หรือ Instagram ดนตรีจึงกลาย

เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีอิทธิพลสูง 

Eric Sheinkip ประธานของ Music Dealers และผู้ร่วมประพันธ์หนังสือเรื่อง “Hit Brands: How Music

Builds Value for the World’s Smartest Brands” ได้กล่าวเอาไว้ว่า ดนตรีสามารถที่จะสร้างคุณค่าให้กับ

แบรนด์ได้ในสามด้าน ได้แก่: การสร้างตัวตน การสร้างความมีส่วนร่วมของลูกค้า และการสร้างจุดร่วมสมัย

Sheinkip กล่าวว่า “ดนตรีสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้กับแบรนด์ในการช่วงชิงความสนใจของลูกค้า และดนตรียัง

เป็นการช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้ด้วยการเข้าถึงจิตใจของลูกค้าผ่านเสียง

เพลง” ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่ลูกค้ากำลังถูกโฆษณาต่าง ๆ กระหน่ำเข้าหาในทุก ๆ

ช่องทาง ก่อให้เกิดเสียงรบกวนเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ดังนั้นดนตรีจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกค้าหันมา

สนใจแบรนด์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ดนตรียังมีส่วนช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงและเข้าใจแบรนด์ได้ดีขึ้นผ่านรูป

แบบของเสียงเพลงที่แบรนด์สื่ออกไป อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ให้น่าประทับ

ใจมากยิ่งขึ้น 

ปัจจุบันมีหลายแบรนด์ที่หันมาใช้เทคนิค Music Marketing หรือกลยุทธ์การตลาดด้านดนตรีเพื่อสร้างตัวตน

ของแบรนด์ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น นอกจากนี้ดนตรียังช่วยให้แบรนด์สามารถสะท้อนตัวตนเข้าไปยังจิตใจของลูกค้า

ได้ดีขึ้นอีกด้วย โดยที่ลูกค้าอาจรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับแบรนด์ที่บ่งบอกถึงตัวตนของพวกเขาได้ดีที่สุดผ่าน

เสียงดนตรี ยกตัวอย่างเช่นการนำดนตรีเพลง Baby Shark มาประกอบโฆษณาของ Shopee ซึ่งการที่

Shopee นำเพลงยอดฮิตขวัญใจเด็ก ๆ มาใช้ในโฆษณาทำให้กลุ่มผู้ปกครอง หรือผู้ที่เคยได้ยินเด็ก ๆ

ในครอบครัวร้องเพลงนี้ก็จะให้ความสนใจกับท่วงทำนองของดนตรี Baby Shark เป็นพิเศษเนื่องจากว่ามีความ

คุ้นเคยกับเพลงอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งนี่คือหนื่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์สามารถใช้ดนตรีเพื่อเข้าไปครองใจ

ลูกค้าได้ผ่านการถ่ายทอดอารมณ์และการดึงดูดความสนใจด้วยการทำให้นึกถึงความทรงจำดี ๆ บางอย่างใน

ชีวิตของพวกเขา 

แบรนด์ดัง ๆ หลายแบรนด์ในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ดนตรีเป็นองค์ประกอบของการ

สร้างสรรค์ประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูกค้า อาทิเช่น การจัดงานดนตรี Music Festival ที่บริษัทเครื่องดื่มอย่าง

ช้างหรือสิงห์มักจะจัดขึ้นเป็นประจำในทุก ๆ ปีโดยการรวบรวมเหล่าศิลปินและวงดนตรีต่าง ๆ ขึ้นแสดงเพื่อ

สร้างบรรยากาศการสังสรรค์เป็นต้น ซึ่งการจัด Music Festival นี้ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่แบรนด์จะสามารถ

สร้างสรรค์บรรยากาศที่สนุกครื้นเครงให้กับลูกค้า ส่งเสริมให้เกิด engagement ระหว่างลูกค้ากับผลิตภัณฑ์

ของแบรนด์ที่ดียิ่งขึ้น โดยการจัดงาน Music Festival มักจะเป็นจุดขายของธุรกิจในวงการอาหารและเครื่อง

ดื่ม หรือแม้กระทั่งบริษัทโทรคมนาคมอย่าง AIS, DTAC หรือ Truemove ในการสร้างสัมพันธ์ดี ๆ ระหว่าง

แบรนด์และลูกค้า 

เมื่อมาดูถึงวงการภาพยนตร์ จะเห็นได้ว่าดนตรีและภาพยนตร์แทบจะเป็นสิ่งที่ขาดกันไม่ได้ ดนตรีมีความสำคัญ

เป็นอย่างมากในการถ่ายทอดอารมณ์และบรรยากาศของเรื่องราวที่กำลังโลดแล่นอยู่บนจอภาพ ในภาพยนตร์

ยอดฮิตอย่าง Harry Potter ก็ได้มีการใช้เพลง “Hedwig’s Flight” เป็นเพลงประจำภาพยนตร์ Harry Potter

ทุก ๆ ภาค และถึงแม้จะเป็นการตั้งชื่อเพลงตามนกฮูกของตัวละครหลัก แต่ท่วงทำนองของเพลงนี้เป็นการสื่อ

ถึงเมืองแห่งเวทมนต์ที่มีทั้งความมหัศจรรย์และความลึกลับ ทุกวันนี้ หากแฟน ๆ คอหนัง Harry Potter ได้ยิน

เพียงแค่ช่วงต้นของทำนองเพลง Hedwig’s Flight ก็จะสามารถจำได้ทันทีว่านี่คือเพลงของ Harry Potter

นอกจากนี้วงการภาพยนต์ยังใช้ดนตรีเป็นองค์ประกอบหลักของภาพยนต์ในการถ่ายทอดอารมณ์และ

บรรยากาศของแต่ละฉากแต่ละตอนที่กำลังฉายอยู่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และการมีดนตรีเป็นองค์ประกอบของ

ภาพที่กำลังฉายอยู่บนจอภาพยนต์ก็จะทำให้ผู้ชมสามารถซึมซับบรรยากาศของเหตุการณ์ในภาพยนต์และมี

ส่วนร่วมกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย 

นอกจากนี้ แบรนด์ดัง ๆ หลายแบรนด์ยังได้มีการร่วมมือกับศิลปินนักร้องชื่อดังในการบรรเลงเพลงโฆษณา

เพื่อสร้างตัวตนให้กับแบรนด์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่แบรนด์สามารถสะท้อนตัวตนของพวกเขาได้ ยกตัวอย่าง

เช่นในแคมเปญฉลอง 50 ปี โตโยตา ได้มีการเชื้อเชิญให้ Da Endorphine มาร้องเพลงประกอบในบทเพลง

“ยิ่งรู้จัก ยิ่งรักเธอ” โดยเพลงนี้มียอดชมบน YouTube สูงถึง 34 ล้านครั้ง 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของการใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือทางการตลาดของแบรนด์ใหญ่ ๆ หลาย ๆ

แบรนด์ เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ทางด้านอารมณ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า และยังเป็นการส่งเสริมให้ลูกค้า

รู้จักแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น ดนตรีเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่หากใช้อย่างถูกวิธีแล้ว แบรนด์จะสามารถดึงดูดความสนใจ

ของลูกค้าได้เป็นอย่างดีท่ามกลางสุรเสียงของสื่อโฆษณานับล้านที่มีอยู่ในช่องทางสื่อปกติ แต่สิ่งสำคัญใน

การใช้ Music Marketing ให้เป็นประโยชน์นั้น คือ คุณจะต้องคำนึงถึงคำถามสองคำถาม นั่นก็คือ คุณคิดว่า

ลูกค้าของคุณมองภาพลักษณ์ของแบรนด์คุณเป็นอย่างไร และ คุณต้องการให้ลูกค้ามองภาพลักษณ์ของ

แบรนด์ของคุณเป็นอย่างไร ด้วยการตอบคำถามสองคำถามนี้ คุณจะสามารถวางกลยุทธ์ทางการตลาดโดยการ

ใช้ดนตรีเป็นองค์ประกอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Comments