ศิลปะในการบริหารธุรกิจขนาดเล็ก: แรงบันดาลใจจากซุนวู

ศิลปะในการบริหารธุรกิจขนาดเล็ก: แรงบันดาลใจจากซุนวู

Business Development

GlobalLinker Staff

GlobalLinker Staff

274 week ago — 5 min read

การดำเนินธุรกิจที่มีขนาดเล็กในปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะมีการแข่งขันสูงและความท้าทายที่มากขึ้น เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กต้องรู้จักการคิดนอกกรอบออกไปจากเดิม และต้องใช้ไหวพริบในการทำธุรกิจและขยายธุรกิจ ที่ผ่าน ๆ มาเจ้าของธุรกิจอาจทำงานแบบทุ่มเทเพียงลำพังได้ แต่จากนี้ไปอาจไม่ใช่อีกแล้ว ต้องทำธุรกิจอย่างชาญฉลาดมากกว่าการทุ่มเทแรงกายแต่เพียงอย่างเดียว

 

จากหนังสือ The Art of War หรือตำราพิชัยสงครามของซุนวู ภูมิปัญญาการวางแผนการรบที่สามารถนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการบริหารกิจการสำหรับธุรกิจขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี มีข้อคิดมากมายในยุทธวิธีของซุนวูที่สามารถช่วยให้เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กเห็นความชัดเจนในเรื่องหน้าที่ของตนเอง ความชัดเจนในเรื่องของกลยุทธ์ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ศิลปะในการบริหารธุรกิจขนาดเล็กต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านในการนำไปวางกลยุทธ์ทางธุรกิจรวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันด้วยก็ได้

 

1. รู้จักวางแผน

“the general who wins a battle makes many calculations in his temple before the battle is fought.”

  • แม่ทัพที่จะเป็นผู้ชนะย่อมวางแผนคำนวณสิ่งต่าง ๆ ไว้ก่อนสงครามจบสิ้นแล้ว

 

ควรต้องวางแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าให้รอบคอบรัดกุมเสียก่อน จะมาแก้ตัวตอนที่ได้เริ่มไปแล้วไม่ได้ ควรวางแผนงบประมาณ ตั้งเป้าและกลุ่มเป้าหมาย วางแผนการดำเนินงานก่อนที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจ สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ความสำเร็จเกิดขึ้นด้วยการวางแผนที่ดี

 

2. รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

“if you know your enemy and you know yourself you need not fear the results of a hundred battles."

  • ถ้ารู้จักศัตรูและรู้จักตัวเองดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องกลัวผลของสงครามไม่ว่าจะกี่ร้อยครั้ง"

 

จงศึกษาคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาด พูดคุยกับลูกค้าของเขาอย่างถี่ถ้วน หาข้อบกพร่องของคู่แข่งให้เจอ และมุ่งหาโซลูชั่นนั้นให้ได้ วิเคราะห์ว่าธุรกิจของคุณทำอะไรได้ดีกว่าคู่แข่ง และมุ่งเน้นไปที่จุดแข้งนั้น ไม่ควรไปแข่งขันแบบตรง ๆ ในสิ่งที่คู่แข่งคุณทำได้ดีกว่า

 

3. เอาชนะด้วยการให้บริการพิเศษ

“supreme excellence consists in breaking the enemy with no fighting”

- สุดยอดแห่งความเป็นเลิศในการรบก็คือการไม่ต้องรบ

 

เอาชนะใจลูกค้าด้วยบริการพิเศษเป็นวิธีที่ดีที่สุด ไม่ควรต้องต่อสู้กันแบบแลกหมัดตัวต่อตัวในเรื่องของราคาหรือการแย่งลูกค้าแบบไร้จริยธรรม ชนะการต่อสู้และได้รับส่วนแบ่งการตลาดโดยไม่ต้องต่อสู้เพียงแค่หันมาให้บริการแก่คู่แข่งเสียด้วยเลย การโน้มน้าวจิตใจของศัตรูให้ยอมแพ้ โดยไม่ต้องรบนับเป็นวิธีการที่เป็นเลิศในการประกอบธุรกิจ

 

4. ภาพลักษณ์แบบมืออาชีพไม่แพ้ใคร

“If you are distant from the enemy make him believe you are near”

- หากเราอยู่ไกล ต้องทำให้คู่แข่งเชื่อว่าเราอยู่ห่างใกล้

 

ทำให้เห็นว่าบริษัทของเรานั้นมีความเป็นมืออาชีพ แม้ว่าบริษัทจะมีขนาดเล็กก็ควรทำแบบเดียวกับบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีภาพลักษณ์ มีเว็บไซต์ โลโก้ และยูนิฟอร์มแบบมืออาชีพ อย่าให้ธุรกิจมีเพียงแค่ชื่อ ต้องสร้างแบรนด์ของคุณขึ้นมาตั้งแต่วันแรกเลย มีการพัฒนาและปรับปรุงสินค้าอยู่ตลอดเวลา แม้จะเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็กก็อยู่เหนือคู่แข่งได้โดยสร้างความไว้วางใจ สร้างการที่เข้าถึงที่ง่ายกว่าคู่แข่ง

 

5. สร้างฐานลูกค้าด้วยการพูดถึง

“opportunities multiply as they are seized.”

- โอกาสจะทวีคูณเท่าที่ไขว่คว้า

 

การบริการที่ดีเยี่ยมแก่ลูกค้าจะแปรเปลี่ยนไปเป็นการบอกเล่า การการันตี การยืนยัน การแนะนำถึงสินค้าของเรา ซึ่งจะสร้างกระแสและการเติบโตให้กับธุรกิจ เชิญชวนให้ลูกค้าแนะนำสินค้าของเราและอย่าลืมปฏิบัติต่อพวกเขาแบบคนพิเศษ

 

6. เป็นผู้นำที่ดีและมีคุณธรรม

“regard your soldiers as your children and they will follow you into the deepest valleys; look upon them as your own beloved sons, and they will stand by you even unto death.”

- ดูแลทหารดุจลูกหลาน และพวกเขาจะตามคุณไปไม่ว่าจะขึ้นเขาลงห้วยใด ๆ คิดเสียว่าพวกเขาเหมือนลูกเหมือนหลาน แล้วพวกเขาจะยืนเคียงข้างคุณไปตลอดเวลา

 

เมื่อธุรกิจโตขึ้น จำเป็นต้องจ้างทีมงานเพื่อช่วยสร้างธุรกิจ จงตั้งมั่นที่จะเป็นผู้นำที่ดีตั้งแต่วันแรก ใส่ใจดูแลลูกน้องและพนักงานทุกคน แล้วพวกเขาก็จะเอาใจใส่ในความสำเร็จของธุรกิจของคุณเช่นกัน การทำธุรกิจเมื่อพนักงานทุ่มเทแรงกายแรงใจให้แล้ว เมื่อบริษัทได้รับผลกำไรหากไม่มีการตอบแทนน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น โบนัส เลื่อนตำแหน่ง จะเป็นการทำลายกำลังใจและจะไม่สามารถรักษาพนักงานที่ดีไว้ได้ อาจเกิดความเสียหาย ควรต้องการจ่ายค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและความสามารถของพนักงาน

 

Comments